วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ที่ 25  เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.  

(เรียนชดเชย)


บรรยากาศในห้องเรียน

เนื่องจากเป็นวันที่เรียนชดเชย จึงมีการย้ายห้องเรียนนิดหน่อย บรรยากาศในการเรียนนั้นก็เป็นการเรียนที่ชิวสบายๆ และเป็นกันเองอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งแบ่งกันตามกลุ่มในการจัดกิจกรรมที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มที่แบ่งก็เป็นกลุ่มที่ได้จัดไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกเอกสารสำหรับการเขียนแผ่นสำหรับ 1 สัปดาห์จากนั้น อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการเขียนแผ่นการเลือกกิจกรรมที่ใช้ในแผ่นการจัดประสบการ์แต่ละวัน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำแผ่นการสอนสำหรับแต่ละวันที่แต่ละกลุ่มคิด บันทึกลงไปในเอกสารที่อาจารย์ได้แจกให้ 



บรรยากาศในการเรียน

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การเขียนแผ่นการสอนให้ครบท่วนสมบูรณ์
  • การวางแผ่นการสอนและคิดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด
  • การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมที่ดี
  • แนวการสอนใหม่ๆที่จะนำไปสอนให้กับเด็ก

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะในการทำงานเป็นทีม
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะกำตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการสอน การมีความคิดที่ต่างและสร้างสรรค์เพื่อจัดการเรียนการสอนใหม่ๆให้แก่เด็กได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ใช้คำถามให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดในการแสดงความคิดเห็น และจะคอยให้คำปริกษาแก่นักศึกษาเสมอ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและทำงานรวมไปถึงกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียนด้วย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจในการทำกิจกรรมและเรียน มีความสามัคคีกันในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษา และในข้อแนะนำแก่นักศึกษาเสมอ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอดแทรกคุณธรรมให้แก่นักศึกษา และปรับเปลี่ยนการสอนให้เหมาะสมกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น



จบการบันทึกครั้งที่ 14

SEE YOU



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น. 



วันนี้หนูไม่ได้มาเรียนค่ะ

เนื้อหาในวันนี้โดยย่อ

(สอบถามจากเพื่อนมา)
วันนี้มีการนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม ส่งโครงร่างของ นิทาน Big BooK ดังนี้

  • กลุ่ม กล้วย นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด
  • กลุ่ม ของเล่นของใช้ นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
  • กลุ่ม ผลไม้ นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
  • กลุ่ม ยานพาหนะ นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ
จากนั้นก็เป็นการนำเสนอวิจัยของเพื่อน 

คือ นางสาวยุคลธร  ศรียะลา 
เรื่อง : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย : คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

จบการบันทึกครั้งที่ 13

SEE YA

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนเริ่มต้นคาบเรียนโดยการเด็บตกการนำเสนอวิจัยของเพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอ และวันนี้ยังนั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพราะวันนี้มีการจำลองการสอนจริงจากแผนที่ได้เขียนและนำเสนออาจารย์ไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วโดยการนำเสนอจะแบ่งออกเป็นกลุ่มวันจันทร์ 2 กลุ่ม กลุ่มวันอังคาร 2 กลุ่ม หลัการในการนำเสนอจะเป็นดังนี้ อาจารย์จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มวันออกมานำเสนอตามทงได้เตรียมมา เมื่อนักศึกษานำเสนอจบ อาจารย์จะบอกข้อผิดพลาดของกลุ่มกลุ่มนั้นเป็นรายกลุ่มและให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นในมุมของตนเอง จากนั้นก็ให้นักศึกาาไปแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถุกต้อง

รูปภาพบรรยากาศในการเรียนวันนี้



การนำเสนอวิจัย


การนำเสนอของเพื่อนกลุ่มที่ 1 เรื่องยานพาหนะ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มของหนูเอง นำเสนอเรื่อง ผลไม้ 

การใช้ตารางจำแนก ส่วนประกอบของผลไม้

กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง กล้วย การสรุปโดยใช้ venn diagram

กลุ่มที่ 4 เรื่อง ของเล่นของใช้ การนำเข้าสู้กิจกรรมโดยใช้เพลง

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การเตรียมความพร้อมในการสอนเด็กนั้นต้องให้ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ทั้งหมด
  • ทุกๆอย่างที่เราสอนนัั้นเด็กจะต้องได้รับความรู้อย่างเต็มที่ในทุกๆอย่างที่เราสอน 
  • ขั้นนำนั้นเราสามารถใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน การตัดต่อภาพ  เป็นต้นในการทำให้เด็กนั้นสนใจและดึงเด็กเข้าสู่การเรียนการสอนที่เราได้เตรียมมา
  • เมื่อจบกิจกรรมเราจะต้องทบทวนความรู้ให้กับเด็ก
  • การจดเขียนบนกระดานให้เด็กดูเป็นการสอนที่ทำใหเด็กนั้นสามารถเรียนรู้ภาษาได้ตามธรรมชาติ
  • ครูต้องเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อให้เด็กสามารถสังเกตตัวอักษรได้ง่าย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การนำมาประยุกต์ใช้

ในการสอนจริงทำให้เรานั้นสามารถจัดระเบียบเด็กได้อย่างถูกต้องควบคุมเด็กได้และให้ความรู้กับเด็ได้อย่างเต็มที่

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นตามที่ตนเองคิดก่อนจากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่นักศึกษา

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีในการนำเสนอ แต่อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้างแต่ตั้งใจอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจในการเตรียมตัวในการนำเสนอเป็นอย่างดี ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีและให้ความรู้นักศึกษาอย่างเต็มที่และละเอียดมากกกกกกกก 



จบการบันทึกครั้งที่ 12

SEE YA

  




วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

หลังจากผ่านอาทิตย์ที่แสนจะวุ่นวายกับการย้ายอาคารเรียนจากเก่ามายังอาคารเรียนใหม่ อาทิตย์นี้ก็ได้มีการเรียนการสอนแบบปกติเสียที โดยเริ่มการเรียนที่อาคารเรียนใหม่ที่ใช้เป็นตึกเรียนชั่วคราวในชั่วนี้ไปก่อน และแล้วการเรียนก็ได้เริ่มขึ้นแบบจริงๆจังเสียที ในชั่วโมงเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เริ่มต้นโดยการในเพื่อนๆออกไปนำเสนอ วิจัยบทความและวิดีโอ 

บทความ ของนางสาว สุดารัตน์ อาจจุฬา

บทความของ นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล


เมื่อจบการนำเสนอของเพื่อนๆ แล้วจากนั้นก็ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนควาามรู้เกี่ยวกับแผนความคิดที่ได้ทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ให้นักศึกษาไปจัดแผนการสอนมาตามวัน โดยวันนี้ได้พูดถึงการจัดการสอนในวันจันทร์ และวันอังคาร โดยวันจันทร์นั้นพูดถึงเรื่อง ชนิดกับประเภท วันอังคารพูดถึงลักษณะ โดยอาจารยืได้ให้นักศึกษาเสนอแผนการสอนที่ได้เตรียมมาของแต่ละกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และปรับปรุงแก้ไขโดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะให้ จากนั้นอาจารย์ได้ให้การบ้านโดยให้นักศึกษาเตรียมการสอนตามแผนเพื่อนำมาทดลองสอนให้อาจารย์ดูโดยสมมุตเพื่อนในห้องเป็นเด็กนักเรียน กลุ่มทั้งหมดมี 4 กลุ่มอาจารย์ได้แบ่งให้ว่ากลุ่มไหนสอนวันจันทร์กลุ่มไหนสอนวันอังคาร 
 

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การทำกิจกรรมให้หน้าสนใจเราจะต้องสนใจในทุกๆขั้นตอนการนำเข้ากิจกรรมอย่างไรจึงจะกระตุ้นเด็กเมื่อเด้กได้รับการกระตุ้นขั้นต่อไปก็จะง่ายขึ้น
  • เราต้องรู้ว่าเด็กแต่ละวัยมีการเรียนรู้แบบใดเาจะได้จัดประสบการณืได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก
  • ขั้นนำนั้นมีเทคนิคหลากหลายวิธีการ เช่น การใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน เป็นต้น
  • การทำกิจกรรมต่างนั้นมีความสำคัญในทุกๆขั้นตอนของการทำกิจกรรมนั้นเด็กสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด และทุกวินาทีในการทำกิจกรรมนั้นมีค่าในการเรียนรู้สำหรับเด็กมาก
  • การทำกิจกรรมโดยใช้ตารางเพื่อให้เด้กเรียนรู้และแยกแยะได้ถึง ขนาด รูปทรง เป็นต้น
  • การใช้ Venn Diagram ในขั้นสรุป เพื่อให้เด้กรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่าง


ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะทางด้านการคิด 
  • ทักษะการสรุปโดยใช้ Venn Diagram

การนำมาประยุกต์ใช้

ได้ความรู้ใหม่ๆและความละเอียดมากขึ้นในการนำไปปรับใช้กับแผนการสอนต่อไป เรียนรู้การใช้วิธีการสอนที่ทำให้เด้กเข้าใจและเพิ่มความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก

เทคนิกการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นักศึกษาดึงประสบการณ์และความรู้ที่มีออกมา แล้วจากนั้นอาจารย์จะเพิ่มเติมความรู้ให้แก่นักศึกษาเพื่อในนักศึกษาได้มีประสบการณ์ใหม่

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมพยายามแสดงความคิดเห็นเท่าที่รู้ 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนการสอนและการทำกิจกรรม ที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิกการสอนที่ดีรับฟังนักศึกษา มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีให้ความสำคัญในทุกๆรายละเอียด

จบการบันทึกครั้งที่ 11 

SEE YA

 



วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10  วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

บรรยากาศในวันนี้ก็ยังคงดูวุ่นวายเหมือนดั่งหลายๆวันที่ผ่านมาเนื่องจากบุคลากรที่เคยอาศัยอยู่ที่ตึก 2 ซึ้งเป็นตึกของคณะศึกษาศาสตร์ ต้องทำการอพยบ ย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไปยังตึกใหม่ เพราะตึกคณะศึกษาศาสตร์นั้นกำลังจะถูกทุบเพราะจะทำการก่อสร้างใหม่ อาจารย์องก็เช่นกัน ดังนั้นอาจารย์จึงรวบรัดเวลา โดยให้นัดศึกษานำงานกลุ่มที่อาจารย์ได้สั่งไว้คือ แผนผังความคิด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มาส่ง อาจารย์ได้ตรวจและแนะนำให้ข้อเสนอแนะในการทำแผนความคิดที่ถูกต้องให้ จากนั้นอาจารย์จึงได้ให้งานแต่ละกลุ่ม โดยให้และกลุ่มนั้นแบ่งงานกันโดยให้เขียนแผนการสอนแต่ละหัวข้อที่มีในแผนผังความคิดมาหัวข้อละแผนโดยให้นักศึกษาจัดการกันด้วยตนเอง และนำมานำเสนอในชั่วโมงถัดไป 



รูปภาพบรรยากาศในห้องเรียน (Cr.เพื่อนๆที่น่ารัก)

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การทำแผนผังความคิดอย่างละเอียดและครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหา เพื่อที่จะวางแผนการสอนได้อย่างครอบคลุม และรู้จะต้องหยิบยกอะไรมาสอนหรือให้ความรู้อย่างไรให้มีประสิธิภาพ
  • ไม่ว่าจะเป็นอะไรหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ก็สามารถนำมาบูรณาการทางคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้นดังนั้นกรวางแผนและรู้จักการหยิบยกสิ่งต่างๆมาใช้ได้อย่างคุ้มค่านั้นจะเป็นแระโยชน์กับเด็กเป็นอย่างมาก

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะทางการคิด
  • ทักษะทางการแตกยอกความคิด
  • ทักษะทางการแก้ปัญหา
  • ทักษะทางการวิเคราะข้อมูล
  • ทักษะในการทำแผนผังความคิด

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำการเขียนแผนผังความคิดมากระจายความรู้เพื่อสามารถจักการวางแผนในการสอนได้อย่างครอบคลุมและเป็นประดยชน์มากที่สุด

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาได้ลองลงมือทำก่อน หลังจากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้ เพื่อนักศึกษาจะได้มีความรู้มากขึ้น 

การปะเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมทุกอย่างที่อาจารย์ได้จัดและมอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมและการเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์งานยุ่งมากแต่กก็พยายามที่จะมาสอนและคอบให้ความรู้กับนักศึกษา





 จบการบันทึกครั้งที่ 10 

SEE YOU






วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559  เวลา
08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์ได้มาช้ามากกว่าเวลาปกติเล็กน้อยเนื่องจากวันนี้นั้นมีการจัดเก็บของภายในอาคารเรียนเพื่อที่จะย้ายไปตึกเรียนใหม่ ไม่นานการรอคอยก็สิ้นสุดลงเมื่อร่างอวบของอาจารย์ได้เลื่อนประตูเปิดเข้ามา บรรยากาศในห้องเรียนที่มีเสียงเจี๊ยวจ๊าวก็เงียบลงเพื่อให้ทุกคนภายในห้องนั้นเข้าสู่โหมดของการเรียน เมื่อร่างอวบที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ได้เดินไปนั่งลงบนเก้าอี้ที่อยู้ตรงหน้าชั้นเรียนการเรียนการสอนจึงเริ่มขึ้น ได้มีการแลกเปลี่ยนสอบถาม เกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศน์ ว่ามีการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์อย่างไร มีการใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง อาจารย์ได้สอบถามและเพิ่มเติมความรู้อย่างพอเป็นพิธี เมื่อจบกิจกรรมที่หนึ่งร่างอวบของอาจารย์ได้เดินไปหยิบกระดาษ A4 ที่วางอยู่บนโต๊ะแล้วเดินมาด้านหน้ายื่นกระดาษนั้นให้แก่นักศึกษาที่อยู่หัว แถว จากนั้นก็เดินไปนั่งที่ นักศึกษาที่ได้รับกระดาษก็ได้หยิบกระดาาของตัวเอง 1 แผ่น และส่งต่อให้เพื่อนด้านข้าง เพื่อนที่ได้รับกระดาษต่อก็ทำเช่นเดียวกันต่อไปเรื่อยๆจนนักศึกษาทั้งห้องได้กระดาษครบทุกคน เมื่อได้ครบแล้วกระดาษที่เหลือจึงส่งคือให้แก่อาจารย์ เมื่ออาจารย์เห็นว่านักศึกษาได้ทุกอย่างครบเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มอธิบายงานงานว่ากระดาษที่แจกไปนั้นใช้ทำอะไรกันแน่ นักศึกษาที่กำลังงงกันอยู่นั้นจึงได้คำต่อบว่า 

งานที่ได้รับมอบหมายคือ ..... ให้นักศึกษานั้นเขียนแผนผังความคิด ที่จะสอนในสิ่งที่เด็ควรรู้ใน 4 หน่วยนี้ คือ 1.  เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก 2. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 3. บุคคลและสถานที่ 4.ธรรมชาติรอบตัว
โดยให้เขียนแยกออกมาเป็นเรื่องที่จะสอน 1 เรื่อง แต่ขอบเขตให้อยู่ใน 4 หน่วยนี้ จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากการทำแผนความคิดของตนเอง คือ ใช้หน่วยธรรมชาติรอบตัว ( เราต้องคิดว่าธรรมชาติรอบตัวมีอะไรบ้าง ) เรื่องต้นไม้ เราก็แตกออกมาจากต้นไม้ว่า  มีชนิดอะไร ดำรงชีวิตอย่างไร ประโยชน์ โทษ เป็นต้น แตกออกมาให้เยอะที่สุดเท่าที่เราจะสอน 
 
หลังจากการเสร็จจากแผนผังความคิด ก็เป็นการนำเสนอ ขอเพื่อนๆในสัปดาห์นี้ จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจแผนควมคิดของนักษึกษาทั้งห้องพร้อมทั้งให้แนวคิดในการแก้ไขผังความคิด จนจบคาบเรียน

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีการสอนเราจะต้องหาวิธีการสอนนั้นให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 
  • การเรียนเราจะต้องเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อที่เด็กจะได้สังเกตได้ง่ายว่าตัวไหนมีรูปแบบการเขียนอย่างไร การเรียนการสอนแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนแบบภาษาธรรมชาติ 
  • ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ
  • ตัวอย่างการที่ให้เด็กทำกิจกรรม เคลื่อนไหว โดย ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขนออก ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขน ออก การทำแบบนี้จะทำให้เด็กเข้าใจในความสัมพันธ์ ในการทำครั้งแรกเด็กอาจจะไม่รู้ว่าคืออะไรในชุดที่ 1 แต่เมื่อชุดที่ 2 3 เด็กจะรู้ว่ามันมีความสัมพันธ์ในเชิงพีชคณิต  หรือ จะเป็นแบบชุดตัวเลข เช่น 531,357,531,357 จะทำให้เด็กได้วิเคราะห์ เกี่ยวกับการเพิ่มลดของจำนวน
  • การใช้แผนความคิดในการสอนเด็กอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการหาความรู้เพิ่มเติม

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะทางด้านการคิด
  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดรวบยอด
  • ทักษะความอดทน

การนำมาประยุกต์ใช้

มีความรู้ในการที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์สอนและสอดแทรกคุณธรรม ให้อิสระในการคิดและแก้ปัญหาอะไรที่ไม่ถูกก็จะช่วยชี้ทางที่ถูกตั้งให้ คิดกิจกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลามีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียน เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน

มีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรม มีความสามัคคีกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้โอกาศในการปรับปรุงแก้ไข สอดแทรกคุณธรรมอยู่เสมอ เตรีมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและให้ความรู้อย่างเต็มที่





จบการบันทึกครั้งที่ 9

SEE YA LOVE YOU 



วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559



บรรยากาศนอกสถานที่

เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนภายในห้องเรียน เพราะต้องไปศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จึงให้งานนักศึกษาโดยให้นักศึกษาไปศึกษาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์มาด้วย 
วันนี้ได้ตื่นแต่เช้าเพื่อไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ ในการเดินทางตอนเช้ารถนั้นข้อนข้างติด เมื่อไปถึงโรงเรียน นักเรียนก็จะมีการเข้าแถวในตอนเช้า เหล่านักศึกษาได้เข้าไปในห้องที่ทางโรงเรียนได้เตรียมการรับรองเอาไว้จากนั้นทางโรงเรียนได้ให้ชมวีดีดอแนะนำโรงเรียน เมื่อชมเรียบร้อยก็นั่งรอ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูกล่าวเปิดงาน เมื่อเรียนร้อยก็มีอาหารรับรอง จากนั้นก็มีการอธิบายเรื่องการสอนแบบโปรเจคของทางโรงเรียน เมื่อฟังจบทางโรงเรียนก็ได้ให้ลงไปศึกษาดูงานการเรียนการสอนของทางโรงเรียน เมื่อจบก็กลับมาที่ห้องรับรองจากนั้นก็รับประทานอาหารเที่ยง (อร่อยมาก) ระหว่างรออาหารก็มากิจกรรมสนุกสนานโดยการให้เพื่อนๆที่มีความสามารถในการร้องและเต้นไปออกเสต็บกัน เมื่อทานอาหารเรียนร้อยเพื่อลดความตึงเครียดในเรื่องวิชาการรวมไปถึงต้องการย่อยอาหารก็มีการออกเสต็บกันอีกรอบ จากนั้นก็ได้เรียนรู้เรื่องโครงการบ้านวิทยาศาสตร์ ว่าเป็นอย่างไรเมื่อจบ ก็ให้นักศึกษาาได้ถามเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นให้นักศึกษาพูดถึงความรู้สึกที่ได้มาศึกษาดูงานในวันนี้ จากนั้นก็ถ่ายรูปรวม เป็นที่ละลึกในการมาศึกษาดูงานในวันนี้

ภาพตัวอย่างสื่อ

ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางคณิศาสตร์












สาระความรู้ที่ได้รับ

  • ทางโรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนจะเป็นมุมต่างๆเพื่อให้เด็กนั้นได้เล่นได้ศึกษาตามความสนใจของเด็ก รวมไปถึงจักห้องเรียนให้เข้ากับการเรียนแบบโครงการในเรื่องที่เรียนอยู่เพื่อให้เด็กได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เด็จะได้รับนั้นเด็จจะได้รับทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ คือ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความหน้าจะเป็น ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายจะทำให้เด็กไม่เบื่อและสนุกกับการเรียน
  • การวัดและประเมินผล จะเป็นการดูจากผลที่เด็กได้รับการทดสอบการสังเกตการสัมภาษผู้ปกครองหรือตัวเด็กเอง
  • การเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach  จะเป็นการเรียนที่ลึกลงไปในสิ่งที่เด็กนั้นอยากรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเด็กจะเป็นผู้ที่เลือกเรื่องที่จะเรียนกันเอง โดยมีครูเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่เด็กและครูก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กอีกด้วย การเรียนแบบโครงการ  จะมี 3 ระยะ คือ 1. ระยะเริ่มต้น 2. ระยะดำเนินโครงการ 3. ระยะสรุปโครงการ 
มีโครงสร้างดังนี้ 
1. การอภิปรายกลุ่ม ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่สนใจ  ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การทำงานภาคสนาม  ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน หรือให้เด็ก มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมที่เด็กได้พบเจอมาในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ
4. การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างอิสระ หลากหลายวิธีตามหัวเรื่องที่เด็กนั้นสนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง  บุคคลในครอบครัว  เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง  อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง  หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ สัมผัส สังเกต ผ่านประสาทสัมผัทท้ง 5 หรืออาจะใช้หนังสือจากห้องสมุดในการค้นคว้า 
5. การจัดแสดงผลงานของเด็ก การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น แก่เพื่อนในชั้น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ครูสามารถให้เด็กในชั้น  ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง  ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนอีกด้วย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาใช้ในการจัดการและวางแผนเตรียมตัวเตรียมใจในการรับมือกับสิ่งที่ต้องเจอในอนาคตของการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมุลเพื่อนำมาเป็นคลังความรู้และประสบการณ์ในการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กในอนาคต ร่วมไปถึงคอยพัฒนาตนเองอยูุ่เสมอ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานเองจริงและฝึกเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อจะได้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวนักศึกษาเอง

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตื่นเต้นในการไปศึกษาดูงาน ตื่นแต่เช้าเพื่อไปให้ทัน เต็มที่กับกิจกรรม ตั้งใจในการศึกษาดูงานเก็บประสบการณ์ต่างๆ แต่อาจะยังไม่เข้าใจในบางเรื่องแต่ก็พยายาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการไปศึกษาดูงาน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีความต้องให้นักศึกษาไปแล้วได้ประสบการณ์ และให้มาบอกเล่า ว่าได้อะไรบ้าง ถึงจะไม่ได้สอนแต่ก็มีงานและกิจกรรมเสริมความรู้ให้นักศึกษาได้ทำ

จบการบันทึกครั้งที่ 8

SEE YA JUB JUB