บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา
08:30 - 12:30 น.
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ได้มาช้ามากกว่าเวลาปกติเล็กน้อยเนื่องจากวันนี้นั้นมีการจัดเก็บของภายในอาคารเรียนเพื่อที่จะย้ายไปตึกเรียนใหม่ ไม่นานการรอคอยก็สิ้นสุดลงเมื่อร่างอวบของอาจารย์ได้เลื่อนประตูเปิดเข้ามา บรรยากาศในห้องเรียนที่มีเสียงเจี๊ยวจ๊าวก็เงียบลงเพื่อให้ทุกคนภายในห้องนั้นเข้าสู่โหมดของการเรียน เมื่อร่างอวบที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ได้เดินไปนั่งลงบนเก้าอี้ที่อยู้ตรงหน้าชั้นเรียนการเรียนการสอนจึงเริ่มขึ้น ได้มีการแลกเปลี่ยนสอบถาม เกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศน์ ว่ามีการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์อย่างไร มีการใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง อาจารย์ได้สอบถามและเพิ่มเติมความรู้อย่างพอเป็นพิธี เมื่อจบกิจกรรมที่หนึ่งร่างอวบของอาจารย์ได้เดินไปหยิบกระดาษ A4 ที่วางอยู่บนโต๊ะแล้วเดินมาด้านหน้ายื่นกระดาษนั้นให้แก่นักศึกษาที่อยู่หัว แถว จากนั้นก็เดินไปนั่งที่ นักศึกษาที่ได้รับกระดาษก็ได้หยิบกระดาาของตัวเอง 1 แผ่น และส่งต่อให้เพื่อนด้านข้าง เพื่อนที่ได้รับกระดาษต่อก็ทำเช่นเดียวกันต่อไปเรื่อยๆจนนักศึกษาทั้งห้องได้กระดาษครบทุกคน เมื่อได้ครบแล้วกระดาษที่เหลือจึงส่งคือให้แก่อาจารย์ เมื่ออาจารย์เห็นว่านักศึกษาได้ทุกอย่างครบเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มอธิบายงานงานว่ากระดาษที่แจกไปนั้นใช้ทำอะไรกันแน่ นักศึกษาที่กำลังงงกันอยู่นั้นจึงได้คำต่อบว่า
งานที่ได้รับมอบหมายคือ ..... ให้นักศึกษานั้นเขียนแผนผังความคิด ที่จะสอนในสิ่งที่เด็ควรรู้ใน 4 หน่วยนี้ คือ 1. เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก 2. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 3. บุคคลและสถานที่ 4.ธรรมชาติรอบตัว
โดยให้เขียนแยกออกมาเป็นเรื่องที่จะสอน 1 เรื่อง แต่ขอบเขตให้อยู่ใน 4 หน่วยนี้ จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากการทำแผนความคิดของตนเอง คือ ใช้หน่วยธรรมชาติรอบตัว ( เราต้องคิดว่าธรรมชาติรอบตัวมีอะไรบ้าง ) เรื่องต้นไม้ เราก็แตกออกมาจากต้นไม้ว่า มีชนิดอะไร ดำรงชีวิตอย่างไร ประโยชน์ โทษ เป็นต้น แตกออกมาให้เยอะที่สุดเท่าที่เราจะสอน
หลังจากการเสร็จจากแผนผังความคิด ก็เป็นการนำเสนอ ขอเพื่อนๆในสัปดาห์นี้ จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจแผนควมคิดของนักษึกษาทั้งห้องพร้อมทั้งให้แนวคิดในการแก้ไขผังความคิด จนจบคาบเรียน
สาระความรู้ที่ได้รับ
- วิธีการสอนเราจะต้องหาวิธีการสอนนั้นให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การเรียนเราจะต้องเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อที่เด็กจะได้สังเกตได้ง่ายว่าตัวไหนมีรูปแบบการเขียนอย่างไร การเรียนการสอนแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนแบบภาษาธรรมชาติ
- ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ
- ตัวอย่างการที่ให้เด็กทำกิจกรรม เคลื่อนไหว โดย ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขนออก ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขน ออก การทำแบบนี้จะทำให้เด็กเข้าใจในความสัมพันธ์ ในการทำครั้งแรกเด็กอาจจะไม่รู้ว่าคืออะไรในชุดที่ 1 แต่เมื่อชุดที่ 2 3 เด็กจะรู้ว่ามันมีความสัมพันธ์ในเชิงพีชคณิต หรือ จะเป็นแบบชุดตัวเลข เช่น 531,357,531,357 จะทำให้เด็กได้วิเคราะห์ เกี่ยวกับการเพิ่มลดของจำนวน
- การใช้แผนความคิดในการสอนเด็กอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการหาความรู้เพิ่มเติม
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะทางด้านการคิด
- ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ทักษะการคิดรวบยอด
- ทักษะความอดทน
การนำมาประยุกต์ใช้
มีความรู้ในการที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์สอนและสอดแทรกคุณธรรม ให้อิสระในการคิดและแก้ปัญหาอะไรที่ไม่ถูกก็จะช่วยชี้ทางที่ถูกตั้งให้ คิดกิจกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลามีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียน เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรม มีความสามัคคีกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้โอกาศในการปรับปรุงแก้ไข สอดแทรกคุณธรรมอยู่เสมอ เตรีมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและให้ความรู้อย่างเต็มที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น