วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559



บรรยากาศนอกสถานที่

เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนภายในห้องเรียน เพราะต้องไปศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จึงให้งานนักศึกษาโดยให้นักศึกษาไปศึกษาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์มาด้วย 
วันนี้ได้ตื่นแต่เช้าเพื่อไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ ในการเดินทางตอนเช้ารถนั้นข้อนข้างติด เมื่อไปถึงโรงเรียน นักเรียนก็จะมีการเข้าแถวในตอนเช้า เหล่านักศึกษาได้เข้าไปในห้องที่ทางโรงเรียนได้เตรียมการรับรองเอาไว้จากนั้นทางโรงเรียนได้ให้ชมวีดีดอแนะนำโรงเรียน เมื่อชมเรียบร้อยก็นั่งรอ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูกล่าวเปิดงาน เมื่อเรียนร้อยก็มีอาหารรับรอง จากนั้นก็มีการอธิบายเรื่องการสอนแบบโปรเจคของทางโรงเรียน เมื่อฟังจบทางโรงเรียนก็ได้ให้ลงไปศึกษาดูงานการเรียนการสอนของทางโรงเรียน เมื่อจบก็กลับมาที่ห้องรับรองจากนั้นก็รับประทานอาหารเที่ยง (อร่อยมาก) ระหว่างรออาหารก็มากิจกรรมสนุกสนานโดยการให้เพื่อนๆที่มีความสามารถในการร้องและเต้นไปออกเสต็บกัน เมื่อทานอาหารเรียนร้อยเพื่อลดความตึงเครียดในเรื่องวิชาการรวมไปถึงต้องการย่อยอาหารก็มีการออกเสต็บกันอีกรอบ จากนั้นก็ได้เรียนรู้เรื่องโครงการบ้านวิทยาศาสตร์ ว่าเป็นอย่างไรเมื่อจบ ก็ให้นักศึกษาาได้ถามเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นให้นักศึกษาพูดถึงความรู้สึกที่ได้มาศึกษาดูงานในวันนี้ จากนั้นก็ถ่ายรูปรวม เป็นที่ละลึกในการมาศึกษาดูงานในวันนี้

ภาพตัวอย่างสื่อ

ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางคณิศาสตร์












สาระความรู้ที่ได้รับ

  • ทางโรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนจะเป็นมุมต่างๆเพื่อให้เด็กนั้นได้เล่นได้ศึกษาตามความสนใจของเด็ก รวมไปถึงจักห้องเรียนให้เข้ากับการเรียนแบบโครงการในเรื่องที่เรียนอยู่เพื่อให้เด็กได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เด็จะได้รับนั้นเด็จจะได้รับทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ คือ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความหน้าจะเป็น ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายจะทำให้เด็กไม่เบื่อและสนุกกับการเรียน
  • การวัดและประเมินผล จะเป็นการดูจากผลที่เด็กได้รับการทดสอบการสังเกตการสัมภาษผู้ปกครองหรือตัวเด็กเอง
  • การเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach  จะเป็นการเรียนที่ลึกลงไปในสิ่งที่เด็กนั้นอยากรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเด็กจะเป็นผู้ที่เลือกเรื่องที่จะเรียนกันเอง โดยมีครูเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่เด็กและครูก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กอีกด้วย การเรียนแบบโครงการ  จะมี 3 ระยะ คือ 1. ระยะเริ่มต้น 2. ระยะดำเนินโครงการ 3. ระยะสรุปโครงการ 
มีโครงสร้างดังนี้ 
1. การอภิปรายกลุ่ม ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่สนใจ  ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การทำงานภาคสนาม  ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน หรือให้เด็ก มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมที่เด็กได้พบเจอมาในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ
4. การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างอิสระ หลากหลายวิธีตามหัวเรื่องที่เด็กนั้นสนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง  บุคคลในครอบครัว  เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง  อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง  หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ สัมผัส สังเกต ผ่านประสาทสัมผัทท้ง 5 หรืออาจะใช้หนังสือจากห้องสมุดในการค้นคว้า 
5. การจัดแสดงผลงานของเด็ก การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น แก่เพื่อนในชั้น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ครูสามารถให้เด็กในชั้น  ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง  ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนอีกด้วย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาใช้ในการจัดการและวางแผนเตรียมตัวเตรียมใจในการรับมือกับสิ่งที่ต้องเจอในอนาคตของการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมุลเพื่อนำมาเป็นคลังความรู้และประสบการณ์ในการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กในอนาคต ร่วมไปถึงคอยพัฒนาตนเองอยูุ่เสมอ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานเองจริงและฝึกเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อจะได้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวนักศึกษาเอง

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตื่นเต้นในการไปศึกษาดูงาน ตื่นแต่เช้าเพื่อไปให้ทัน เต็มที่กับกิจกรรม ตั้งใจในการศึกษาดูงานเก็บประสบการณ์ต่างๆ แต่อาจะยังไม่เข้าใจในบางเรื่องแต่ก็พยายาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการไปศึกษาดูงาน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีความต้องให้นักศึกษาไปแล้วได้ประสบการณ์ และให้มาบอกเล่า ว่าได้อะไรบ้าง ถึงจะไม่ได้สอนแต่ก็มีงานและกิจกรรมเสริมความรู้ให้นักศึกษาได้ทำ

จบการบันทึกครั้งที่ 8

SEE YA JUB JUB 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น