วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์เข้ามาสอนช้ากว่าปกตินิดหน่อยเพราะอาจารย์ติดงาน เมื่ออาจารย์เข้า อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำไม้ที่อาจารย์ได้ให้แก่นักศึกษาไปตัดแบ่งตามสัดส่วนที่อาจารย์ได้กำหนดไว้ในสัปดาห์ที่แล้วขึ้นมาเพื่อจะได้ทำกิจกรรมสำหรับวันนี้กัน กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ได้นำดินนำมันมากแจกให้นักศึกษาโดยให้นักศึกษานันได้เลือกเองว่าจะเอาดินน้ำมันสีอะไรดี เมื่อนักศึกษาได้ดินน้ำมันครบทุกคนแล้ว ก็เริ่มกิจกรรม โดย อาจารย์จะกำหนดโจทย์มา โดยให้นักศึกษานำไม้ที่ได้ตัดแบ่งเอาไว้แล้วนั้นมาต่อกันโดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมให้ไม้ติดกัน เป็นรูปทรงต่างๆตามที่อาจารย์ได้กำหนด ตามรูปแบบความคิดของตัวเอง 

ตัวอย่างภาพผลงานจากกิจกรรม



รูปสามเหลี่ยม 1 มิติ


รูปทรงสามเหลี่ยม 3 มิติ


จับคู่ทำรูปทรง 4 เหลี่ยม 


รูปทรง 4 เหลี่ยม 3มิติ


ตัวอย่างผลงาน ในแบบต่างๆ 

เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วต่อไปก็เป็นการนำเสนอของเพื่อนๆ จะแบ่งเป็น ในรูปแบบเดิม
วันนี้ หนูเป็นผู้นำเสนอ 1 ในสามสามมารถเข้าไปดูในบล็อกที่สรุปเอาไว้แล้วได้เลยส่วนสรุปของเพื่อนๆนั้นก็สามารถเข้าไปดูตามลลิ้งค์นี้ได้เช่นกัน

นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง

นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา

VDO
นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์
ยังไม่ได้นำเสนอนะฮ๊า

นางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว

**เข้าไปตามหัวขอได้เลยค่า**

แผนผังสรุปองค์ความรู้




สาระความรู้ที่ได้รับ

  • แค่เพียงไม้เสียบลูกชิ้นที่แสนจะธรรมด๊าธรรมดากัดินน้ำมัน 1 ก่อน ก็สามารถนำมาสร้างความรู้และประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กน้อยผู้น่ารักได้ โดยการทำให้เด็กนั้นได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงต่างๆ ถึงแม้ว่าครูผู้สอนจะกำหนดโจทมาแต่ครูไม่ควรกำหนดความคิดหรือรูปแบบในการทำของเด็ก ต้องปล่อยให้เด็กคิดเองทำเองลงมือเองเพื่อเด็กแต่ละคนนั้นมีความคิดที่แต่ต่างกันดังนั้นการสร้างรูปทรงต่างๆของเด็กก็แตกต่างกันไปด้วยขึ้นอยู่กับประสบการเดิมของเด็ก ถึงแม้โจทย์จะเหมือนกันแต่ ผลงานที่ออกมาก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป 
  • ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้คุณครูเองก็ต้องคอยเพิ่มเติมความรู้ให้กับตนเองเช่นกันเพราะเด็กนั้นจะเรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์อะไรนั้นก็อยู่ที่ผู้ใหญ่หรือครูแป็นผู้จัดมันขึ้น ดังนั้นครูจะต้องหาความรู้ใหม่ๆและทั้นโลกทันสมัยและทันเด็กอยู่เสมอเพื่อที่จะได้จัดการเรียนรรู้ได้อย่างหลายหลายและทำให้เด็กไม่เบื่อ พร้อมที่จะสนุกกับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะและแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะทางคณิตศาสพื้นฐาน
  • ทักษะคณิตศาสตร์เรื่องรูปทรง
  • ทักษะการคิด

การนำมาประยุกต์ใช้

กิจกรรมการทำรูปทรงต่างๆจากไม้ลูกชิ้นนั้นเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ได้รับเพื่อในอนาคตนั้นจะได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการจัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย อย่างเหมาะสม 
การวางแผนในการทำกิจกรรมก็สำคัญเราจะต้องคิดกิจกรรมที่ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กนั้นได้สนุกกับการทำกิจกรรม

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์นั้นให้อิสระในการคิดแก้ไขปัญหาโดยไม่ปิดกั้น ให้โอกาศในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงอาจารย์จะมีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาทำเสมอๆ สอดแทรกคุณธรรม

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนพยายามทำความเข้าใจกับการเรียนการสอน ตั้งใจและให้ความร่วมมือกับกิจกรรม 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์จะมีเทคนิคใหม่ในการสอนและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ให้โอกาศแกนักศึกษาเสมอไม่ตัดโอกาศและให้ปรับปรุงแก้ไข ตั้งใจสอนฟังความคิดเห็นของนักศึกษาเสมอ และคอยให้ขอคิดสอดแทรกคุณธรมมจริยธรรม



จบการบันทึกครั้งที่ 7

SEE YOU















 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น