วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

ในวันนี้ เริ่มต้นชั่วโมงโดยการแจกแผนการสอนให้นักศึกษาทุกๆคนโดยใช้การวิธีการแบบในชั่วโมงก่อนๆ
จากนั้นก็ได้แจกกระดาษแข็งแต่เป็นกระดาษขนาดเล็กที่ได้ให้ตัวแทนนักศึกษานั้นได้ตัดแบ่งมาแจกในวิธีการเดียวกัน ได้ให้นักศึกษาทุกคนเขียนเฉพาะชื่อของตนเองลงไป ในขณะนั้นอาจารย์ได้เดินไปหน้าห้องเรียนแล้วลงมือตีตารางบนกระดานโดยที่จะมีตารางทั้งหมด 3 ช่องด้วยกัน ช่อที่ 1 คือลำดับที่ ช่องที่ 2 คือ มา และช่องที่ 3 คือ ไม่มา 3 ช่องนี้นั้นจะอยู่ในแนวตั้ง แต่ยังมีช่องพิเศษที่ต่อท้ายลงมาจากตารางคือช่องสำหรับ รวม และ คนที่มาทั้งหมด เมื่ออาจารย์ได้ตีตารางเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนนั้นนำชื่อที่เขียนลงในกระดาษแผ่นเล็กๆที่ได้แจกนั้นไปติดบนตารางที่อาจารย์ตีเอาไว้ในช่องที่เขียนว่ามาและให้ตัวแทนนักศึกษาเขียนชื่อเพื่อนที่ไม่ได้มาในคาบเรียนนี้ไปติดไว้ในช่องที่เขียนว่าไม่มา เมื่อนักศึกษาทุกคนนั้นแปะชื่อลงบนตารางเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นอาจารย์ก็ได้นับจำนวนนักศึกษาที่มาโดยการนับแบบนี้ คือ 1 เพิ่ม 1 เป็น 2  2 เพิ่ม 1 เป็น 3  นับแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยเพิ่มจำนวนไปที่ละ 1 ในการเพิ่มจำนวนที่ละ 1 แบบนี้นั้นเป็นพื้นฐานของการบวก อาจารย์ได้กล่าวว่ากิจกรรมที่กำลังทำอยู่นี้นั้นเป็นการที่นำคณิตศาสตร์เข้าไปมีส่วนร่วมกับในชีวิตประจำวันของเด็ก กิจกรรมง่ายๆนี้จะทำให้เด็กได้รู้เรื่อง  การแบ่งกลุ่ม การนับแล้วบอกค่าได้ การใช้เลขฮินดูอาราบิกกำกับจำนวน การใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับการมาก่อนมาหลัง ได้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ การนับจากซ้ายไปขวา มากกว่าน้อยกว่า ลำดับที่ ได้รู้ว่าชื่อตนเองเขียนอย่างไร  นอกจากนี้เด็กจะได้เรื่องของการตรงต่อเวลาด้วย การที่เด็กมาโรงและนำชื่อมาติดตรงตารางตามลำดับที่นั้นจะทำให้รู้ว่าใครนั้นมาสายบ้างก็จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอยากที่จะมาให้เช้าขึ้น (การที่เด็กมาสายนั้นเราไม่ควรประจานหรือต่อว่าเด็กตรงๆ แต่เราจะต้องกระตุ้นเด็กด้วย
นิทานหรือกิจกรรมอื่นๆ)  แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้ทำในวันนี้เป็นแค่ต้นแบบเท่านั้น อาจารย์จึงยกตัวอย่างว่าถ้ามีเด็กจำนวนมากๆๆเราจะนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร โดยให้นักศึกษาช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นกันอย่างสนุกสนาน โดยเพื่อนๆเสนอว่าให้แบ่งเป็นกลุ่มและตั้งชื่อกลุ่ม เป็นกลุ่ม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หกเหลี่ยมห้าเหลี่ยม เป็นต้น เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องเรขาคณิต ซึ้งอาจารย์ก็เสริมมาว่า ถ้าจะให้มีชื่อกลุ่มนั้นต้องไปในทางเดียวกันเพื่อเด็กจะไม่ได้สับสน ในกิจกรรมทุกกิจกรรมหรือสิ่งที่ลงมีทำนั้นทุกๆอย่างจะต้องให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งหมด เมื่อจบกิจกรรมแรกแล้วต่อมาเป้นกิจกรรมที่ 2 ก็คื่อเหมือนกันกับในอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นคือ ให้เพื่อนๆออกไปนำเสนอ โดยอาทิตย์นี้ จะเป็นเลขที่ 4 5 6 โดยเรียงลำดับดังนี้คือ 4 นำเสนอบทความ  เลขที่ 5 นำเสนอวิจัย และเลขที่ 6 นำเสนอ VDO  (หัวข้อที่นำเสนอทั้งหมดอยู่ในบล็อคของเพื่อแต่ละคนแล้ว) ต่อมาเป็นการออกไปนำเสนอตามกลุ่มที่อาจารย์ได้แบ่งไว้ว่าให้ทำของเล่นเสริมพัฒนาการทางคณิศาสตร์ ว่าแต่ละกลุ่มจะทำจองเล่นอะไรมีไอเดียมาจากอะไรบ้าง จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกถึงจุดที่ต้องแก้ไขและเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดให้


ออกไปนำเสนอไอเดียการทำของเล่น 
(ขอขอบคุณรูปภาพจากเพื่อนสาวสวยที่น่ารัก)


 บทความ วิจัย VDO ของเพื่อน 
***สรุป บทความวิจัยวิดีโอ คลิกเข้าไปตามหัวข้อได้เลยจ้า
เมื่อการนำเสนอผ่านไป ต่อมาอาจารย์ได้สอนร้องเพลงด้วยนะ เพลงในวันนี้ก็จะมีเพลง

1. เพลงสวัสดียามเช้า

เนื้อเพลง

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นลา

2. เพลงสวัสดีคุณครู

เนื้อเพลง

สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน

ยามเช้าเรามาโรงเรียน(ซ้ำ) หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย


3. เพลงหนึ่งปีมี 12 เดือน

เนื้อเพลง

หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์


4. เข้าแถว

เนื้อเพลง

เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน

อย่ามัวแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน

ระวังเดินชนกัน เข้าแถวพลันว่องไว

5. จัดแถว

เนื้อเพลง

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า

ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


6. ซ้าย ขวา

เนื้อเพลง

ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ 

แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ


7. ขวด 5 ใบ

เนื้อเพลง

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ) เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งลงมา 

คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่

 (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)

 ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี


END Class sing and song 

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • ได้รับความรู้จากกิจกรรมง่ายๆแต่สอนและให้ความรู้มากมายอย่างกิจกรรมเช็คชื่อมาไม่มากิจกรรมนี้ทำให้เด็กรู้จักการตรงต่อเวลา การเรีบงลำดับ รู้จำนวนตัวเลข พื้นฐานการบวกลบ รวมไปถึงทักษะและความสนุกของการที่เด็กได้ทำกิจกรรมนี้ในชีวิตประจำวัน
  • การบวกก็คือการเพิ่ม ดังนั้นการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นไม่จำเป็นจะต้องพูดไปตรงๆว่า 1บวก1เท่ากับสองนะ แต่เปลี่ยนเป็น 1เพิ่ม 1 เป็น 2 2 เพิ่ม 1 เป็น 3 เพราะการเพิ่มเป็นพื้อฐานของการบวก 
  • การเพิ่มจำนวนตัวเลข 1 จำนวนนั้นมีหลากหลายวิธี เช่น 10 การจะเพิ่มจำนวนให้ได้10นั้นไม่จำเป็น ต้องเป้น 5 กับ 5 แต่เป็น 4 กับ 6  7 กับ 3 หรือ 8กับ2 ก็ได้ 
  • ในการทำกิจกรรมต่างๆนั้นสิ่งต่างๆที่อยู่ในกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นไม้จิ้มฟันยันเรือรบนั้นจะต้องมีจุดประสงค์ชัดเจน เพราะเด็กจะต้องได้รับความรู้อย่างเต็มที่
  • เราจะต้องศึกษาว่าเด็กในแต่ละวัยนั้นเรียนรู้และทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะวางแผนในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาการได้อย่างเต็มศักยภาพ
  • คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ >> ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว อุณหภูมิ
  • สกุลเงินต่างๆ >> ไทย:บาท เวียดนาม:ดง กรีซ:ยูโร  อังกฤษ:ปอนด์
  • เวลา >> ชั่วโมง ,นาที, วินาที
  • ความหมายของการรวม >> การรวสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • ความหมายของการแยก>> การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
  • การให้เด็กเรียนรู้ตัวเลขไทยและเลขฮินดูอารบิก ให้เป็นรูปต่างๆที่ง่ายต่อการจดจำของเด็กปฐมวัยเพราะเด็กปฐมวัยนั้นการจำเป็นรูปภาพจะง่ายกว่า
  • ให้เด็กเรียนรู้การวัดอย่างง่าดดยเริ่มจากเชือกก่อนแล้วค่อยพัฒนาเป็นเครื่องมื่อวัดแบบอื่นๆ

ทักษะที่ได้รับในการเรียน

- ทักษะการนำเสนอ 
- ทักษะการคิดวิเคราะห์และกรแก้ไขปัญหา
- ทักษะคณิตพื้นฐาน 
- ทักษะการร้องเพลง
- ทักษะการจับใจความเพื่อสรุป

การนำมาประยุกต์ใช้

การนำกิจกรรมที่อาจารย์ได้ทำเป็นแบบอย่างมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง
นำเพลงที่อาจารย์สอนมาเป็นสื่อนำในการสอนเด็กๆได้ การที่เรามีความรู้เยอะนั้นก็เป็นประโยชน์ต่อเราเองและเด็กๆด้วยเพราะเราสามารถนำไปใช้สอนเด็กในอนาคตได้เพื่อทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและได้รับความรู้รวมไปถึงพัฒนาการต่างๆอย่างเต็มที่

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะสอนเนื้อหาความรู้ต่างๆให้แก่นักศึกษาจากนั้นจะให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ และเมื่อมีอะไรที่นักศึกษานั้นไม่เข้าใจหรือทำผิดพลาดอาจารย์จะคอยชี้แนะช่องทางที่ถุกต้องให้ 
ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจารย์ยังสอดแทรกคุณธรรมต่างๆในการดำรงชีวิตให้นักศึกษา อีกด้วย และทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา

กาารประเมิน

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน มาไม่สาย(พยายามหนักมาก) ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆน่ารักตั้งใจเรียนให้ความร่วมมื่อในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาเช้ามากๆๆๆ มาก่อนเวลาเรียนอีกมานั่งรอนักศึกษาก่อนถึงชั่วโมงเรียน (เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ)สอนสนุกให้ความรู้แบบเน้นๆเนื้อทั้งนั้น เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีมีกิจกรรมใหม่ๆให้ทำในทุกๆคาบที่เข้าเรียน

จบการบันทึกครั้งที่ 4

ซายังเฮโยว จุ๊ฟๆ











วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.



บรรยากาศในห้องเรียน

ในคาบเรียนในวันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษในแบบของอาจารย์ เมื่อเรียบร้อย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วนในแบบของนักศึกษา แบบใดก็ได้ โดยให้ได้ 4 ส่วนเท่าๆกัน เมื่อได้ทดลองพับกระดาษในแบบต่างๆตามแบบของตนเองแล้วนั้น ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาช่วยกันออกความคิดเห็นว่าจะพับกระดาษในรูปแบบใดดีจึงจะเขียนชื่อของตนเองลงไปในกระดาษได้อย่างพอดี  ตกลงไปมาในทีสุดก็ได้แนวกรัดาษที่พอใจนั้นก็คือกระดาษที่พับเป็นแนวตั้ง เมื่อพับกระดาษเรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นก็ตัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เก็บไว้ที่ตนเองหนึ่งส่วนให้กลับคืนไปแก่อาจารย์ 3 ส่วน จากนั้นก็เขียนชื่อลงไปให้พอดีกับกระดาษตามความคิดของนักศึกษาแต่ละคน (เราฉีกผิดด้วยหละให้ฉีก 4 แต่ดันได้ 5 ยังไงก็ไม่รู้ สงสัยจะเช้าเกินเลยมึน ฮ่าๆ) เมื่อนักศึกษาทุกคนเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น อาจารย์จึงมีการจัด แบทเทิลการเขียนขึ้น มีกติกาเช่น ต้องเขียนจากซ้ายไปขวา เป็นตัวอักษรไทย เป็นต้น นักศึกษาคนไหนที่เขียนไม่ตรงตามข้อกำหนด รายชื่อของคน คนนั้นจะโดนคัดออกหรือพูดง่ายๆว่าคุณนั้นไม่ได้ไปต่อ คนที่โดนคัดออกจะต้องแก้ไขโดยการเขียนใหม่ส่วนคนที่ผ่านแล้วนั้นอยากที่จะปรับปุงให้ดีขึ้นก็ได้ เมื่อการแข่งขันจบลงรายการต่อไปก็คือการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยเรียงตามเลขที่ในอาทิตย์นี้เลขที่ ที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นคือ 1 2 3 หัวข้อของแต่ละคนก็คือ เลขที่ 1 นำเสนอบทความ 
เลขที่ 2 นำเสนอวิจจัย เลขที่ 3 นำเสนอวีดีโอ (หัวข้อที่นำเสนอนั้นจะถูกสรุปอยู่ในบล็อคของเพื่อนๆแต่ละคนแล้ว) การนำเสนอนั้นอาจารย์จะเน้นให้เป็นการออกมาเล่าเรื่องแบบสรุปให้เข้าใจง่ายมากกว่า เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดให้ หลังจากการนำเสนอผ่านไปแล้วต่อมาก็เข้าเนื้อหาการเรียนการสอน  การเรียนในห้องเรียนนั้นไม่ได้ตึงเครียดอาจารย์นั้นคอยใส่ใจรายละเอียดต่างๆในการทำกิจกรรมของนักศึกษาทุกๆคน มีเวลาให้พักคอยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่นักศึกษา

สาระความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

- การเรียนรู้ที่หลากหลายนั้นจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้ในหลายรูปแบบ
- ในการจัดกิจกรรมต่างๆนั้นควรคำนึงถึงความแตกต่างและความสามารถของเด็กแต่ละคน
- การใช้ภาษาในการสื่อสารนั้นมีหลากหลายรูป ไม่ว่าจะเป็น ในรูปแบบการออกเสียงเป็นคำพูดหรือเป็นในรูปแบบของสัญลักษณ์ 
- การวางแผนในการลงมือทำงาน
เนื้อหา
เด็กปฐมวัย เรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์
เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆของคณิตศาสตร์ที่เป็นดั่งพื้นฐานด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา
สาระมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
สาระการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระการเรียนรู้ที่ 2 การวัด
สาระการเรียนรู้ที่ 3 เรขาคณิต
สาระการเรียรรู้ที่ 4 พีช(ชะ)คณิต
สาระการเรียนรู้ที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลความหน้าจะเป็น
สาระการเรียนรู้ที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
เด็กจะรู้และเข้าใจในเนื้อหาและสาระความสาระความรู้ที่ได้ในแต่ละเนื้อหาสาระ
  1. มีความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ >> จำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลัการนับ รู้จักเลขฮินดูอารบิก รู้จักค่าจำนวน รู้จักการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ รู้จักการรวมและแยกกลุ่ม
  2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร เงินตราและ เวลา 
  3. มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของเรขาคณิต ตำแหน่งทิศทางระยะทาง รูปทรงเรขาคณิตในหลากหลายมิติ และ รู้ระยะใกล้ไกล
  4. มีความรู้ความเข้าใจในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่มีสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อนุกรม
  5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิอย่างง่าย
  6. มีทักษะและกระบวนการทางด้านคณตศาสตร์ที่จำเป็น
การจัดประสบการณ์ต้องเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กนั้นชอบจึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการ และนั่นเองที่ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ตามวัย ทำให้เด็กเกิดความสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับในการเรียน

- ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
- ทักษะการคิด
- ทักษะพื้นฐานทางการคิด

การนำมาประยุกต์ใช้

- การนำความรู้ที่ได้รับมาออกแบบการสอนในอนาคต เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ครบทุกๆด้านทางคณิตศาสตร์
- นำสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะมาในการสรุปและนำเสนอมาปรับใช้กับการนำเสนอของตนเองในครั้งหน้า
- การพูดนั้นต้องให้ฉะฉาน เสียงดังฟังชัด จะนำมาปรับปรุงอย่างด่วนจี๋ (โดนอาจารย์แนะนำมาแบบเน้นๆ)

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะะให้นักศึกษานั้นรู้จักแก้ไขปัญหาในแบบของตนเอง พร้อมทั้งช่วยแนะนำแนวทางที่ถูกต้องให้แก่นักศึกษา คอยสอนเทคนิคต่างๆอยู่เสมอ อาจารย์จะให้นักศึกษานั้นได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง อาจารย์จะคอยชี้แนะและให้คำสอน เช่น ให้เรานั้นเตรียมการสอนเหมือนกับการเตรียมดินเด็กก็เหมือนกับต้นไม้ถ้าดินดีหรือความรู้ดีจะทำให้พื้นฐานของเด็กนั้นแข็งแรง และจะทำให้ต้นไม้หรือเด็กนั้นเติบโตไปได้อย่างมั่นคงและแข็งแรง ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจารย์ก็จะคอยสอดแทรกคุณธรรมให้แก่นักศึกษาอีกด้วย

การประเมินผล 

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน ฟัง จด และ ทำกิจกรรม ตามที่อาจารย์สอน  

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง และร่วมกันทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ตั้งใจมากในการสอนและให้ความรู้อย่างไม่กักเก็บเอาไว้ รวมทั้งมีความตั้งใจในการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนสนุก ใจดีและให้โอกาศนักศึกษาเสมอ 

จบการบันทึกครั้งที่ 3 

XOXO 





วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรีนรู้ครั้งที่ 2 (ตอนพิเศษ)


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.1( บันทึกสรุปบทความ)

สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์  
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง 
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ 
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง

บทความจาก : นิตยาสาร Kids&School
ลิ้งก์: กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.1 (บันทึกสรุปบทความ)


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.2 (บันทึกสรุปVDO)

สรุปวีดีโอ การสอนคณิตกับเด็กอนุบาล 1 

การเรียนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเรียนให้ได้ดีและสนุกนั้นต้องผ่านการเล่นโดยเด็กสามารถเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กสามารถเรียนรู้ได้จำได้แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คณิตศาสตร์นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข 1-10 เท่านั้น แต่ยังมีสี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว นี้คือจุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ เด็กนั้นจะจดจำสัญลักษณ์ได้ว่าสัญลักษณ์แบบนี้คือเลขนี้แบบนี้คือเลขนั้นนะแต่เด็กจะไม่รู้ความหมาย เด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันมีความสนใจต่างกัน บางคนสนใจวิชาการบางคนสนใจ ในการทำกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจะต้องมีความสนุกและเข้ากับเด็กได้ในทุกรูปแบบ ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการต่อยอด การสอนเราจะต้องคอยถามเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด
 เด็กจะเรียนรู้พื้อฐานจาก สี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว จำนวน การสอนเด็กอนุบาลจะต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ เราจำเป็นต้องปูพื้อฐานให้แน่ก่อนเมื่อเด็กมีฐานที่มั่นคงการไปต่อในด้านคณิตศาสตร์นั้นก็ง่ายและไปได้เร็ว 

VDOจาก : TALK about KIDS
ลิ้งก์ :กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.2 (บันทึกสรุปVDO)



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.3 (บันทึกสรุปงานวิจัย)

สรุปงานวิจัย การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า "นิทานคณิต"

ผู้วิจัย : นางสาวขวัญนุช บุญยู่ฮง

โดยธรรมชาติแล้วนั้นเด็กปฐมวัยนั้นชอบฟังนิทานเพราะนิทานนั้นให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและตอบสนองความต้องการของเด็กนิทานจึงเปรียบเสมือนสิ่งเร้าที่เป็นแรงจูงใจภานในที่มีอนุภาพผลักดันให้เด็กเกิดความสนใจใคร่รู้ ใคร่เรียน นำไปสู่การพัฒนาในทุกๆด้าน และถ้าผู้เล้ามีเทคนิคการเล่าที่ดีเล่าได้น่าฟังน่าสนใจ เด็กจะติดตามเนื้อเรื่องในนิทานอย่างเต็มใจโดยไม่ต้องบังคับ เมื่อเด็กมีความสนใจก็จะเกิดการรับรูที่ดีครูจิงสามารถสอดแทรกเนื้อหาทักษะทางคณิตศาสตร์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการลงไปได้ เด็กจะเรียนรู้อย่างสนุกสนานและไม่เครียดซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก

ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเล่านิทานก่อนและหลังทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยชายและหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 15 อันดับสุดท้ายมาเป็นกลุ่มทดลอง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  1. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. เข้าพบครูประจำชั้นห้องที่จะทำการทดลองเพื่อชี้แจงรูปแบบงานวิจัยและขอความร่วมมือ
  3. สร้างความคุณเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างระยะเวลา 3วัน
  4. ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการ Pretest กับเด็กทั้งห้องเพื่อหาเด็กกลุ่มที่จะนำมาทดลอง 15 คน
  5. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทดลองสัปดาห์ละ 3วันวันละ 15 นาที
  6. ผู้วิจัยทำการ Posttest  กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับกิจกรรมเล่านิทานคณิตโดยใช้ขอสอยชุดเดียวกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนทดลอง
  7. นำคะแนนไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
  1. เด็กที่ได้รับการจักกิจกรรมการเล่สนิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในทักษะด้านการนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเที่ยบ การเรียงลำดับ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านการจัดประเภทสูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
  3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรายทักษะ หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
  4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรวมทุกทักษะ  หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
งานวิจัย : ลิขสิทธิ์เป็นของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ลิ้งก์ : กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.3 (บันทึกสรุปงานวิจัย)






จบการบันทึกครั้งที่ 2(ตอนพิเศษ)

SeE YoU



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น


บรรยากาศในห้องเรียน

ในตอนตอนเช้าเวลาประมาณ 8:30 น.ที่เราได้ไปถึงห้องเรียน ในเวลานั้นอาจารย์ยังมาไม่ถึงห้องเรียนเนื่องจากติดธุระ แต่ในเวลาต่อมานั้นอาจารย์ก็ได้มาถึง แน่นอนก่อนจะเริ่มการเรียนก็ต้องมีการเช็คชื่อนักศึกษา คนที่มาก็ส่งสัญญาณให้อาจารย์ได้รู้ว่ามาแล้วนะ แต่นี่ก็เฉยๆ จุดพีคอยู่นะจุดนี้คืออาจารย์ได้ถามนักศึกษาที่ไม่มาในสัปดาห์ที่แล้ว ว่า ไปไหนถึงไม่มาเรียน มันจะไม่มีอะไรสำคัญเลยถ้าหนึ่งในนั้นไม่ใช่เรา เราก็ได้ให้คำตอบสุดช็อคไปเช่นกัน จบจากการสอบสวนเอ้ย! สอบถามแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มการเรียนการสอน โดยเริ่มแรกนั้นเริ่มจากการที่ นำกระดาษปึกใหญ่ส่งในนักศึกษาที่อยู๋หัวแถวในตอนแรกนั้นนักศึกษาได้แจกกระดาษผิด อาจารย์จิงให้แจกใหม่โดยการในนักศึกษานั้นหยิบกระดาษจากกองเดียวกัน ให้ยิบของใครของมันแล้วส่งต่อไปจนนักศึกษานั้นได้กระดาษครบทุกคน
หลังจากนักศึกษาได้การดาษคนละแผ่นคนทุกคน ก็นำกระดาษไปคือให้แก่อาจารยืที่อยู่หน้าห้อง
จากนั้นอาจารย์ได้ถามได้อะไรจากการแจกกระดาษในแบบของอาจารย์บ้าง นักศึกษาแต่ละคนนั้นก็ให้คำตอบที่หลาหลายกันออกไป นอกจากนี้อาจารย์ได้เพิ่มเติมความรู้ และทบทวนในสิ่งที่นักศึกษารู้อยู่แล้วให้แน่นมากยิ่งขึ้น บรรยากาศในการเรียนนั้นก็สนุกเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะของอาจารย์และนักศึกษา การเรียนจึงไม่ตึงเครียดมากจนเกินไป

สาระความรู้ที่ได้รับจาการเรียน

- การแจกกระดาษก็สามารถสร้างความรู้ได้ การแจกกระดาษนั้นจะแจกแบบนักศึกษา 1 คนต่อกระดาษ 1 แผ่น หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง การแจกกระดาษเราอาจจะคิดว่าเป็นการแจกการะดาษที่แสนจะธรรมดาๆ แต่ว่าจริงๆแล้วนั้นเราสามารถเรียนเรื่องรู้พื้นฐานการบวกการลบ การคำนวณ จำนวนที่มากกว่าน้อยกว่า  ซึ้งสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่แฝงอยู่ในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของเราโดยที่เราเองนั้นไม่ได้ทันสังเกตและคาดไม่ถึง
- คณิตศาสตร์ อยู่รอบตัวของเรา เช่น เราจะตายถ้ากินยาเกินขนาดดั้งนั้นจึงต้องมีการคำนวณปริมาณยา เราจะสร้างบ้านเรื่องที่อยู่อาศัยไม่ได้ถ้าเราไม่มีการวางแผนคำนวณค่าต่าง การออกแบบสิ่งของต่างๆแน่นอนว่าเราจะต้องใช้ไนเรื่องของรูปทรงและมิติมาเกี่ยวข้อง การควบคุมน้ำหนักของนางแบบนักกีฬาก็ต้องใช้การคำนวณสูตรคณิต   เป็นต้น เห็นไหมละว่าคณิตอยู่รอบๆตัวของเรา
- คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แต่มันไม่ใช่แค่นั้นนะสิ ถ้าเราลองย้อนกลับไปแล้วลองนึกดูให้ดีเราก็จะพบว่าในชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้นมีคณิตศาสตร์ นั้นแฝงตัวอยู่ นอกจากคณิตศาสตร์แล้วก็ยังมีภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารในทุกๆวัน คณิตกับภาษานั้นมีความสำคัญเท่ากันเราลองคิดแบบเอาขำๆดูสิว่าถ้าเรานั้นขาดคณิตกับภาษาไปนั้นเราจะอยู่ได้หรือเปล่า ติ๊กตอกๆ คำตอบคือไม่ได้ใช่ไหมละ ถ้าเราขาดมันไปจะมีผลกระทบกับเรามากๆเลย และอะไรที่มีผลกระทบกับเรานั้นก็แสดงว่าสิ่งนั้นสำคัญ ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงสำคัญ
- การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆคือ
1. การจัดประสบการณ์ >> หลักสูตร หลักการ แนวทาง การนำไปใช้ การจัดประสบการณ์โดยผู็ปกครอง สื่อ
2. คณิตศาสตร์ >> ความหมาย ความสำคัญ สาระ ทักษะ ประโยชน์
3. เด็กปฐมวัย >> ความหมาย การเรียนรู้ พัฒนาการ

ทักษะที่ได้รับ

- ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- ทักษะการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

- นำเทคนิคการสอนของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเด็กปฐมวัยที่น่ารักในอานาคต
- นำคณิศาสตร์มาปรับใช้กับชีวิตของตนเอง ให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นจากที่เคยเป็น
- พัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ของตนเองให้มากขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์

จะเป็นในลักษณะให้ได้ลงมือทำและอาจารย์จะตั้งคำถามว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรม กิจกรรมที่ลงมีทำนี้สอนอะไร เพื่อให้นักศึกษานั้นได้คิด ในบางครั้งในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างนั้นบางที่เราอาจจะแค่ทำๆไปไม่ได้คิดอะไรแต่เทคนิคแบบนั้นนั้นทำให้นักศึกษาได้คิด ทำให้รอยหยักในสมองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจารย์ก็จะสอดแทรกคุณธรรมในการใช้ชีวิตให้อีกด้วย

การประเมิน

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจในการเรียนพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ต้องการสื่อ แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนเหมือนกัน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด ร่วมกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน สอนสนุกและไม่เครียดจนเกินไป


จบการบันทึกครั้งที่ 2 

BEY BEY 









วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา08:30-12:20 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

จากคำบอกเล่าของเพื่อนบรรยากาศในห้องเรียนนั้นดี อาทิตย์หน้าจะลองไปสัมผัสเองแล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังนะ  o(^0^)o

สาระความรู้ที่ได้รับ

จากที่เพื่อนได้นำมาชี้แจงให้ได้ฟัง คือ ส่วนประกอบในการจัดทำบล็อคในรายวิชานี้

ทักษะที่ได้รับ

การแก้ไขปัญหาเฉพาะในส่วนของตนเอง การตามงานจากเพื่อนไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนเอง o(^[+++]<)o

การนำมาประยุกต์ใช้

การค้นหาขอมูลในการทำงานให้มีความหลากหลาย

เทคนิคการสอนของอาจารย์

ไว้สัปดาห์หน้าจะมาเล่าให้ฟังนะ o(^0^)o

การประเมิน

ประเมินตนเอง

ควรปรับปรุงตนเองเพราะขาดเรียนตั้งแต่คาบแรก

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆน่ารักมากกก ช่วยอธิบายงานต่างๆที่อาจารย์ได้มอบให้

ประเมินอาจารย์

จะมาประเมินให้ในสับดาห์หน้านะค่ะ 

จบการบันทึกครั้งที่ 1

SEE YOU