วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น


บรรยากาศในห้องเรียน

ในตอนตอนเช้าเวลาประมาณ 8:30 น.ที่เราได้ไปถึงห้องเรียน ในเวลานั้นอาจารย์ยังมาไม่ถึงห้องเรียนเนื่องจากติดธุระ แต่ในเวลาต่อมานั้นอาจารย์ก็ได้มาถึง แน่นอนก่อนจะเริ่มการเรียนก็ต้องมีการเช็คชื่อนักศึกษา คนที่มาก็ส่งสัญญาณให้อาจารย์ได้รู้ว่ามาแล้วนะ แต่นี่ก็เฉยๆ จุดพีคอยู่นะจุดนี้คืออาจารย์ได้ถามนักศึกษาที่ไม่มาในสัปดาห์ที่แล้ว ว่า ไปไหนถึงไม่มาเรียน มันจะไม่มีอะไรสำคัญเลยถ้าหนึ่งในนั้นไม่ใช่เรา เราก็ได้ให้คำตอบสุดช็อคไปเช่นกัน จบจากการสอบสวนเอ้ย! สอบถามแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มการเรียนการสอน โดยเริ่มแรกนั้นเริ่มจากการที่ นำกระดาษปึกใหญ่ส่งในนักศึกษาที่อยู๋หัวแถวในตอนแรกนั้นนักศึกษาได้แจกกระดาษผิด อาจารย์จิงให้แจกใหม่โดยการในนักศึกษานั้นหยิบกระดาษจากกองเดียวกัน ให้ยิบของใครของมันแล้วส่งต่อไปจนนักศึกษานั้นได้กระดาษครบทุกคน
หลังจากนักศึกษาได้การดาษคนละแผ่นคนทุกคน ก็นำกระดาษไปคือให้แก่อาจารยืที่อยู่หน้าห้อง
จากนั้นอาจารย์ได้ถามได้อะไรจากการแจกกระดาษในแบบของอาจารย์บ้าง นักศึกษาแต่ละคนนั้นก็ให้คำตอบที่หลาหลายกันออกไป นอกจากนี้อาจารย์ได้เพิ่มเติมความรู้ และทบทวนในสิ่งที่นักศึกษารู้อยู่แล้วให้แน่นมากยิ่งขึ้น บรรยากาศในการเรียนนั้นก็สนุกเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะของอาจารย์และนักศึกษา การเรียนจึงไม่ตึงเครียดมากจนเกินไป

สาระความรู้ที่ได้รับจาการเรียน

- การแจกกระดาษก็สามารถสร้างความรู้ได้ การแจกกระดาษนั้นจะแจกแบบนักศึกษา 1 คนต่อกระดาษ 1 แผ่น หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง การแจกกระดาษเราอาจจะคิดว่าเป็นการแจกการะดาษที่แสนจะธรรมดาๆ แต่ว่าจริงๆแล้วนั้นเราสามารถเรียนเรื่องรู้พื้นฐานการบวกการลบ การคำนวณ จำนวนที่มากกว่าน้อยกว่า  ซึ้งสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่แฝงอยู่ในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของเราโดยที่เราเองนั้นไม่ได้ทันสังเกตและคาดไม่ถึง
- คณิตศาสตร์ อยู่รอบตัวของเรา เช่น เราจะตายถ้ากินยาเกินขนาดดั้งนั้นจึงต้องมีการคำนวณปริมาณยา เราจะสร้างบ้านเรื่องที่อยู่อาศัยไม่ได้ถ้าเราไม่มีการวางแผนคำนวณค่าต่าง การออกแบบสิ่งของต่างๆแน่นอนว่าเราจะต้องใช้ไนเรื่องของรูปทรงและมิติมาเกี่ยวข้อง การควบคุมน้ำหนักของนางแบบนักกีฬาก็ต้องใช้การคำนวณสูตรคณิต   เป็นต้น เห็นไหมละว่าคณิตอยู่รอบๆตัวของเรา
- คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แต่มันไม่ใช่แค่นั้นนะสิ ถ้าเราลองย้อนกลับไปแล้วลองนึกดูให้ดีเราก็จะพบว่าในชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้นมีคณิตศาสตร์ นั้นแฝงตัวอยู่ นอกจากคณิตศาสตร์แล้วก็ยังมีภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารในทุกๆวัน คณิตกับภาษานั้นมีความสำคัญเท่ากันเราลองคิดแบบเอาขำๆดูสิว่าถ้าเรานั้นขาดคณิตกับภาษาไปนั้นเราจะอยู่ได้หรือเปล่า ติ๊กตอกๆ คำตอบคือไม่ได้ใช่ไหมละ ถ้าเราขาดมันไปจะมีผลกระทบกับเรามากๆเลย และอะไรที่มีผลกระทบกับเรานั้นก็แสดงว่าสิ่งนั้นสำคัญ ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงสำคัญ
- การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆคือ
1. การจัดประสบการณ์ >> หลักสูตร หลักการ แนวทาง การนำไปใช้ การจัดประสบการณ์โดยผู็ปกครอง สื่อ
2. คณิตศาสตร์ >> ความหมาย ความสำคัญ สาระ ทักษะ ประโยชน์
3. เด็กปฐมวัย >> ความหมาย การเรียนรู้ พัฒนาการ

ทักษะที่ได้รับ

- ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- ทักษะการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

- นำเทคนิคการสอนของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเด็กปฐมวัยที่น่ารักในอานาคต
- นำคณิศาสตร์มาปรับใช้กับชีวิตของตนเอง ให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นจากที่เคยเป็น
- พัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ของตนเองให้มากขึ้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์

จะเป็นในลักษณะให้ได้ลงมือทำและอาจารย์จะตั้งคำถามว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรม กิจกรรมที่ลงมีทำนี้สอนอะไร เพื่อให้นักศึกษานั้นได้คิด ในบางครั้งในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างนั้นบางที่เราอาจจะแค่ทำๆไปไม่ได้คิดอะไรแต่เทคนิคแบบนั้นนั้นทำให้นักศึกษาได้คิด ทำให้รอยหยักในสมองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจารย์ก็จะสอดแทรกคุณธรรมในการใช้ชีวิตให้อีกด้วย

การประเมิน

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจในการเรียนพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ต้องการสื่อ แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนเหมือนกัน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด ร่วมกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิคในการสอนและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน สอนสนุกและไม่เครียดจนเกินไป


จบการบันทึกครั้งที่ 2 

BEY BEY 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น