บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
บรรยากาศในห้องเรียน
ในคาบเรียนในวันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษในแบบของอาจารย์ เมื่อเรียบร้อย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วนในแบบของนักศึกษา แบบใดก็ได้ โดยให้ได้ 4 ส่วนเท่าๆกัน เมื่อได้ทดลองพับกระดาษในแบบต่างๆตามแบบของตนเองแล้วนั้น ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาช่วยกันออกความคิดเห็นว่าจะพับกระดาษในรูปแบบใดดีจึงจะเขียนชื่อของตนเองลงไปในกระดาษได้อย่างพอดี ตกลงไปมาในทีสุดก็ได้แนวกรัดาษที่พอใจนั้นก็คือกระดาษที่พับเป็นแนวตั้ง เมื่อพับกระดาษเรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นก็ตัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เก็บไว้ที่ตนเองหนึ่งส่วนให้กลับคืนไปแก่อาจารย์ 3 ส่วน จากนั้นก็เขียนชื่อลงไปให้พอดีกับกระดาษตามความคิดของนักศึกษาแต่ละคน (เราฉีกผิดด้วยหละให้ฉีก 4 แต่ดันได้ 5 ยังไงก็ไม่รู้ สงสัยจะเช้าเกินเลยมึน ฮ่าๆ) เมื่อนักศึกษาทุกคนเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น อาจารย์จึงมีการจัด แบทเทิลการเขียนขึ้น มีกติกาเช่น ต้องเขียนจากซ้ายไปขวา เป็นตัวอักษรไทย เป็นต้น นักศึกษาคนไหนที่เขียนไม่ตรงตามข้อกำหนด รายชื่อของคน คนนั้นจะโดนคัดออกหรือพูดง่ายๆว่าคุณนั้นไม่ได้ไปต่อ คนที่โดนคัดออกจะต้องแก้ไขโดยการเขียนใหม่ส่วนคนที่ผ่านแล้วนั้นอยากที่จะปรับปุงให้ดีขึ้นก็ได้ เมื่อการแข่งขันจบลงรายการต่อไปก็คือการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยเรียงตามเลขที่ในอาทิตย์นี้เลขที่ ที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นคือ 1 2 3 หัวข้อของแต่ละคนก็คือ เลขที่ 1 นำเสนอบทความ
เลขที่ 2 นำเสนอวิจจัย เลขที่ 3 นำเสนอวีดีโอ (หัวข้อที่นำเสนอนั้นจะถูกสรุปอยู่ในบล็อคของเพื่อนๆแต่ละคนแล้ว) การนำเสนอนั้นอาจารย์จะเน้นให้เป็นการออกมาเล่าเรื่องแบบสรุปให้เข้าใจง่ายมากกว่า เมื่อนักศึกษานำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดให้ หลังจากการนำเสนอผ่านไปแล้วต่อมาก็เข้าเนื้อหาการเรียนการสอน การเรียนในห้องเรียนนั้นไม่ได้ตึงเครียดอาจารย์นั้นคอยใส่ใจรายละเอียดต่างๆในการทำกิจกรรมของนักศึกษาทุกๆคน มีเวลาให้พักคอยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่นักศึกษา
สาระความรู้ที่ได้รับจากการเรียน
- การเรียนรู้ที่หลากหลายนั้นจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้ในหลายรูปแบบ
- ในการจัดกิจกรรมต่างๆนั้นควรคำนึงถึงความแตกต่างและความสามารถของเด็กแต่ละคน
- การใช้ภาษาในการสื่อสารนั้นมีหลากหลายรูป ไม่ว่าจะเป็น ในรูปแบบการออกเสียงเป็นคำพูดหรือเป็นในรูปแบบของสัญลักษณ์
- การวางแผนในการลงมือทำงาน
เนื้อหา
เด็กปฐมวัย เรียนรู้อะไรจากคณิตศาสตร์
เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆของคณิตศาสตร์ที่เป็นดั่งพื้นฐานด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา
สาระมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
สาระการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระการเรียนรู้ที่ 2 การวัด
สาระการเรียนรู้ที่ 3 เรขาคณิต
สาระการเรียรรู้ที่ 4 พีช(ชะ)คณิต
สาระการเรียนรู้ที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลความหน้าจะเป็น
สาระการเรียนรู้ที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
เด็กจะรู้และเข้าใจในเนื้อหาและสาระความสาระความรู้ที่ได้ในแต่ละเนื้อหาสาระ
- มีความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ >> จำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลัการนับ รู้จักเลขฮินดูอารบิก รู้จักค่าจำนวน รู้จักการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ รู้จักการรวมและแยกกลุ่ม
- มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร เงินตราและ เวลา
- มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของเรขาคณิต ตำแหน่งทิศทางระยะทาง รูปทรงเรขาคณิตในหลากหลายมิติ และ รู้ระยะใกล้ไกล
- มีความรู้ความเข้าใจในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่มีสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อนุกรม
- มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิอย่างง่าย
- มีทักษะและกระบวนการทางด้านคณตศาสตร์ที่จำเป็น
การจัดประสบการณ์ต้องเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กนั้นชอบจึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการ และนั่นเองที่ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ตามวัย ทำให้เด็กเกิดความสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้
ทักษะที่ได้รับในการเรียน
- ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
- ทักษะการคิด
- ทักษะพื้นฐานทางการคิด
การนำมาประยุกต์ใช้
- การนำความรู้ที่ได้รับมาออกแบบการสอนในอนาคต เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ครบทุกๆด้านทางคณิตศาสตร์
- นำสิ่งที่อาจารย์เสนอแนะมาในการสรุปและนำเสนอมาปรับใช้กับการนำเสนอของตนเองในครั้งหน้า
- การพูดนั้นต้องให้ฉะฉาน เสียงดังฟังชัด จะนำมาปรับปรุงอย่างด่วนจี๋ (โดนอาจารย์แนะนำมาแบบเน้นๆ)
เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจารย์จะะให้นักศึกษานั้นรู้จักแก้ไขปัญหาในแบบของตนเอง พร้อมทั้งช่วยแนะนำแนวทางที่ถูกต้องให้แก่นักศึกษา คอยสอนเทคนิคต่างๆอยู่เสมอ อาจารย์จะให้นักศึกษานั้นได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง อาจารย์จะคอยชี้แนะและให้คำสอน เช่น ให้เรานั้นเตรียมการสอนเหมือนกับการเตรียมดินเด็กก็เหมือนกับต้นไม้ถ้าดินดีหรือความรู้ดีจะทำให้พื้นฐานของเด็กนั้นแข็งแรง และจะทำให้ต้นไม้หรือเด็กนั้นเติบโตไปได้อย่างมั่นคงและแข็งแรง ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจารย์ก็จะคอยสอดแทรกคุณธรรมให้แก่นักศึกษาอีกด้วย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน ฟัง จด และ ทำกิจกรรม ตามที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง และร่วมกันทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ตั้งใจมากในการสอนและให้ความรู้อย่างไม่กักเก็บเอาไว้ รวมทั้งมีความตั้งใจในการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนสนุก ใจดีและให้โอกาศนักศึกษาเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น