วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรีนรู้ครั้งที่ 2 (ตอนพิเศษ)


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.1( บันทึกสรุปบทความ)

สรุปบทความคณิตศาสตร์ปฐมวัยเรียนอย่างไรให้สนุก + เข้าใจ

บทความนี้ได้กล่าวถึงแนวการสอนของคุณครูท่านหนึ่งที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คุณครูท่านนี้เป็นผู้มีประสบการณ์สอนคณิตศาสตร์มายาวนานกว่า 35 ปี และยังได้รับรางวัล มามากมายกว่า 20 รางวัล ครูท่านนี้คือ คุณครูเสน่ห์ สังข์ภิรมย์  
แนวการสอนของคุณครูท่านนี้ จะใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โยจับกลุ่มเด็กเก่งกับเด็กเรียนอ่อนให้คละกัน ให้เด็กๆได้ช่วยเหลือกัน เพื่อจะได้ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมให้เด็กด้วย ในการสอนครูจะไม่ทำโทษเด็ก ไม่กากบาทในสิ่งที่เด็กทำผิดแต่จะอธิบายและให้เด็กได้แก้ไขตรงนั้นเลย ครูเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้การเรียนคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็ก โดยครูจะต้อง 
1. ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. ครูต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียน
3. ใช้สื่อที่หน้าสนใจ 
การเรียนด้วยความสนุกนั้นจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีและมีกำลังใจในการเรียนรู้
การที่จะทำให้เด็กปฐมวัยนั้นสนุกและเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้นั้น คุณครูหรือผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องสร้างองค์ประกอบการเรียนรู้รอบด้านให้เป็นเรื่องสนุก ก็จะทำให้การเรียนที่น่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกได้นั้นเอง

บทความจาก : นิตยาสาร Kids&School
ลิ้งก์: กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.1 (บันทึกสรุปบทความ)


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.2 (บันทึกสรุปVDO)

สรุปวีดีโอ การสอนคณิตกับเด็กอนุบาล 1 

การเรียนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเรียนให้ได้ดีและสนุกนั้นต้องผ่านการเล่นโดยเด็กสามารถเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กสามารถเรียนรู้ได้จำได้แต่ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ คณิตศาสตร์นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข 1-10 เท่านั้น แต่ยังมีสี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว นี้คือจุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กๆ เด็กนั้นจะจดจำสัญลักษณ์ได้ว่าสัญลักษณ์แบบนี้คือเลขนี้แบบนี้คือเลขนั้นนะแต่เด็กจะไม่รู้ความหมาย เด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เหมือนกันมีความสนใจต่างกัน บางคนสนใจวิชาการบางคนสนใจ ในการทำกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมจะต้องมีความสนุกและเข้ากับเด็กได้ในทุกรูปแบบ ผู้ปกครองก็มีส่วนสำคัญในการต่อยอด การสอนเราจะต้องคอยถามเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด
 เด็กจะเรียนรู้พื้อฐานจาก สี ขนาด รูปทรง ความกว้างความยาว จำนวน การสอนเด็กอนุบาลจะต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ เราจำเป็นต้องปูพื้อฐานให้แน่ก่อนเมื่อเด็กมีฐานที่มั่นคงการไปต่อในด้านคณิตศาสตร์นั้นก็ง่ายและไปได้เร็ว 

VDOจาก : TALK about KIDS
ลิ้งก์ :กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.2 (บันทึกสรุปVDO)



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2.3 (บันทึกสรุปงานวิจัย)

สรุปงานวิจัย การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า "นิทานคณิต"

ผู้วิจัย : นางสาวขวัญนุช บุญยู่ฮง

โดยธรรมชาติแล้วนั้นเด็กปฐมวัยนั้นชอบฟังนิทานเพราะนิทานนั้นให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและตอบสนองความต้องการของเด็กนิทานจึงเปรียบเสมือนสิ่งเร้าที่เป็นแรงจูงใจภานในที่มีอนุภาพผลักดันให้เด็กเกิดความสนใจใคร่รู้ ใคร่เรียน นำไปสู่การพัฒนาในทุกๆด้าน และถ้าผู้เล้ามีเทคนิคการเล่าที่ดีเล่าได้น่าฟังน่าสนใจ เด็กจะติดตามเนื้อเรื่องในนิทานอย่างเต็มใจโดยไม่ต้องบังคับ เมื่อเด็กมีความสนใจก็จะเกิดการรับรูที่ดีครูจิงสามารถสอดแทรกเนื้อหาทักษะทางคณิตศาสตร์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการลงไปได้ เด็กจะเรียนรู้อย่างสนุกสนานและไม่เครียดซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก

ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเล่านิทานก่อนและหลังทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยชายและหญิงอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม โดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 15 อันดับสุดท้ายมาเป็นกลุ่มทดลอง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
  1. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย
  2. เข้าพบครูประจำชั้นห้องที่จะทำการทดลองเพื่อชี้แจงรูปแบบงานวิจัยและขอความร่วมมือ
  3. สร้างความคุณเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างระยะเวลา 3วัน
  4. ก่อนทำการทดลองผู้วิจัยทำการ Pretest กับเด็กทั้งห้องเพื่อหาเด็กกลุ่มที่จะนำมาทดลอง 15 คน
  5. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทดลองสัปดาห์ละ 3วันวันละ 15 นาที
  6. ผู้วิจัยทำการ Posttest  กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับกิจกรรมเล่านิทานคณิตโดยใช้ขอสอยชุดเดียวกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนทดลอง
  7. นำคะแนนไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
  1. เด็กที่ได้รับการจักกิจกรรมการเล่สนิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในทักษะด้านการนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเที่ยบ การเรียงลำดับ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านการจัดประเภทสูงขึ้นกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
  3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรายทักษะ หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
  4. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจักกิจกรรมกาเล่านิทานคณิต เมื่อพิจารณาโดยใช้เส้นภาพแล้ว ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่มีคะแนนทักษะพื้นฐานรวมทุกทักษะ  หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
งานวิจัย : ลิขสิทธิ์เป็นของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ลิ้งก์ : กด

จบการบันทึกครั้งที่ 2.3 (บันทึกสรุปงานวิจัย)






จบการบันทึกครั้งที่ 2(ตอนพิเศษ)

SeE YoU



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น