วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ที่ 25  เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น.  

(เรียนชดเชย)


บรรยากาศในห้องเรียน

เนื่องจากเป็นวันที่เรียนชดเชย จึงมีการย้ายห้องเรียนนิดหน่อย บรรยากาศในการเรียนนั้นก็เป็นการเรียนที่ชิวสบายๆ และเป็นกันเองอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งแบ่งกันตามกลุ่มในการจัดกิจกรรมที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มที่แบ่งก็เป็นกลุ่มที่ได้จัดไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกเอกสารสำหรับการเขียนแผ่นสำหรับ 1 สัปดาห์จากนั้น อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการเขียนแผ่นการเลือกกิจกรรมที่ใช้ในแผ่นการจัดประสบการ์แต่ละวัน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำแผ่นการสอนสำหรับแต่ละวันที่แต่ละกลุ่มคิด บันทึกลงไปในเอกสารที่อาจารย์ได้แจกให้ 



บรรยากาศในการเรียน

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การเขียนแผ่นการสอนให้ครบท่วนสมบูรณ์
  • การวางแผ่นการสอนและคิดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด
  • การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมที่ดี
  • แนวการสอนใหม่ๆที่จะนำไปสอนให้กับเด็ก

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะในการทำงานเป็นทีม
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะกำตอบคำถาม
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการสอน การมีความคิดที่ต่างและสร้างสรรค์เพื่อจัดการเรียนการสอนใหม่ๆให้แก่เด็กได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ใช้คำถามให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดในการแสดงความคิดเห็น และจะคอยให้คำปริกษาแก่นักศึกษาเสมอ

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและทำงานรวมไปถึงกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียนด้วย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจในการทำกิจกรรมและเรียน มีความสามัคคีกันในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษา และในข้อแนะนำแก่นักศึกษาเสมอ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอดแทรกคุณธรรมให้แก่นักศึกษา และปรับเปลี่ยนการสอนให้เหมาะสมกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น



จบการบันทึกครั้งที่ 14

SEE YOU



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น. 



วันนี้หนูไม่ได้มาเรียนค่ะ

เนื้อหาในวันนี้โดยย่อ

(สอบถามจากเพื่อนมา)
วันนี้มีการนำเสนอนิทานของแต่ละกลุ่ม ส่งโครงร่างของ นิทาน Big BooK ดังนี้

  • กลุ่ม กล้วย นิทานเรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด
  • กลุ่ม ของเล่นของใช้ นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
  • กลุ่ม ผลไม้ นิทานเรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
  • กลุ่ม ยานพาหนะ นิทานเรื่อง หมีน้อยกับรถคู่ใจ
จากนั้นก็เป็นการนำเสนอวิจัยของเพื่อน 

คือ นางสาวยุคลธร  ศรียะลา 
เรื่อง : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย : คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

จบการบันทึกครั้งที่ 13

SEE YA

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนเริ่มต้นคาบเรียนโดยการเด็บตกการนำเสนอวิจัยของเพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอ และวันนี้ยังนั้นเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพราะวันนี้มีการจำลองการสอนจริงจากแผนที่ได้เขียนและนำเสนออาจารย์ไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วโดยการนำเสนอจะแบ่งออกเป็นกลุ่มวันจันทร์ 2 กลุ่ม กลุ่มวันอังคาร 2 กลุ่ม หลัการในการนำเสนอจะเป็นดังนี้ อาจารย์จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มวันออกมานำเสนอตามทงได้เตรียมมา เมื่อนักศึกษานำเสนอจบ อาจารย์จะบอกข้อผิดพลาดของกลุ่มกลุ่มนั้นเป็นรายกลุ่มและให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นในมุมของตนเอง จากนั้นก็ให้นักศึกาาไปแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถุกต้อง

รูปภาพบรรยากาศในการเรียนวันนี้



การนำเสนอวิจัย


การนำเสนอของเพื่อนกลุ่มที่ 1 เรื่องยานพาหนะ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มของหนูเอง นำเสนอเรื่อง ผลไม้ 

การใช้ตารางจำแนก ส่วนประกอบของผลไม้

กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง กล้วย การสรุปโดยใช้ venn diagram

กลุ่มที่ 4 เรื่อง ของเล่นของใช้ การนำเข้าสู้กิจกรรมโดยใช้เพลง

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การเตรียมความพร้อมในการสอนเด็กนั้นต้องให้ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ทั้งหมด
  • ทุกๆอย่างที่เราสอนนัั้นเด็กจะต้องได้รับความรู้อย่างเต็มที่ในทุกๆอย่างที่เราสอน 
  • ขั้นนำนั้นเราสามารถใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน การตัดต่อภาพ  เป็นต้นในการทำให้เด็กนั้นสนใจและดึงเด็กเข้าสู่การเรียนการสอนที่เราได้เตรียมมา
  • เมื่อจบกิจกรรมเราจะต้องทบทวนความรู้ให้กับเด็ก
  • การจดเขียนบนกระดานให้เด็กดูเป็นการสอนที่ทำใหเด็กนั้นสามารถเรียนรู้ภาษาได้ตามธรรมชาติ
  • ครูต้องเขียนหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อให้เด็กสามารถสังเกตตัวอักษรได้ง่าย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การนำมาประยุกต์ใช้

ในการสอนจริงทำให้เรานั้นสามารถจัดระเบียบเด็กได้อย่างถูกต้องควบคุมเด็กได้และให้ความรู้กับเด็ได้อย่างเต็มที่

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นตามที่ตนเองคิดก่อนจากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่นักศึกษา

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีในการนำเสนอ แต่อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้างแต่ตั้งใจอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจในการเตรียมตัวในการนำเสนอเป็นอย่างดี ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีและให้ความรู้นักศึกษาอย่างเต็มที่และละเอียดมากกกกกกกก 



จบการบันทึกครั้งที่ 12

SEE YA

  




วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น.


บรรยากาศในห้องเรียน

หลังจากผ่านอาทิตย์ที่แสนจะวุ่นวายกับการย้ายอาคารเรียนจากเก่ามายังอาคารเรียนใหม่ อาทิตย์นี้ก็ได้มีการเรียนการสอนแบบปกติเสียที โดยเริ่มการเรียนที่อาคารเรียนใหม่ที่ใช้เป็นตึกเรียนชั่วคราวในชั่วนี้ไปก่อน และแล้วการเรียนก็ได้เริ่มขึ้นแบบจริงๆจังเสียที ในชั่วโมงเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เริ่มต้นโดยการในเพื่อนๆออกไปนำเสนอ วิจัยบทความและวิดีโอ 

บทความ ของนางสาว สุดารัตน์ อาจจุฬา

บทความของ นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล


เมื่อจบการนำเสนอของเพื่อนๆ แล้วจากนั้นก็ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนควาามรู้เกี่ยวกับแผนความคิดที่ได้ทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ให้นักศึกษาไปจัดแผนการสอนมาตามวัน โดยวันนี้ได้พูดถึงการจัดการสอนในวันจันทร์ และวันอังคาร โดยวันจันทร์นั้นพูดถึงเรื่อง ชนิดกับประเภท วันอังคารพูดถึงลักษณะ โดยอาจารยืได้ให้นักศึกษาเสนอแผนการสอนที่ได้เตรียมมาของแต่ละกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และปรับปรุงแก้ไขโดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะให้ จากนั้นอาจารย์ได้ให้การบ้านโดยให้นักศึกษาเตรียมการสอนตามแผนเพื่อนำมาทดลองสอนให้อาจารย์ดูโดยสมมุตเพื่อนในห้องเป็นเด็กนักเรียน กลุ่มทั้งหมดมี 4 กลุ่มอาจารย์ได้แบ่งให้ว่ากลุ่มไหนสอนวันจันทร์กลุ่มไหนสอนวันอังคาร 
 

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การทำกิจกรรมให้หน้าสนใจเราจะต้องสนใจในทุกๆขั้นตอนการนำเข้ากิจกรรมอย่างไรจึงจะกระตุ้นเด็กเมื่อเด้กได้รับการกระตุ้นขั้นต่อไปก็จะง่ายขึ้น
  • เราต้องรู้ว่าเด็กแต่ละวัยมีการเรียนรู้แบบใดเาจะได้จัดประสบการณืได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเด็ก
  • ขั้นนำนั้นมีเทคนิคหลากหลายวิธีการ เช่น การใช้ เพลง คำคล้องจอง นิทาน เป็นต้น
  • การทำกิจกรรมต่างนั้นมีความสำคัญในทุกๆขั้นตอนของการทำกิจกรรมนั้นเด็กสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด และทุกวินาทีในการทำกิจกรรมนั้นมีค่าในการเรียนรู้สำหรับเด็กมาก
  • การทำกิจกรรมโดยใช้ตารางเพื่อให้เด้กเรียนรู้และแยกแยะได้ถึง ขนาด รูปทรง เป็นต้น
  • การใช้ Venn Diagram ในขั้นสรุป เพื่อให้เด้กรู้ถึงความเหมือนและความแตกต่าง


ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะทางด้านการคิด 
  • ทักษะการสรุปโดยใช้ Venn Diagram

การนำมาประยุกต์ใช้

ได้ความรู้ใหม่ๆและความละเอียดมากขึ้นในการนำไปปรับใช้กับแผนการสอนต่อไป เรียนรู้การใช้วิธีการสอนที่ทำให้เด้กเข้าใจและเพิ่มความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็ก

เทคนิกการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เพื่อให้นักศึกษาดึงประสบการณ์และความรู้ที่มีออกมา แล้วจากนั้นอาจารย์จะเพิ่มเติมความรู้ให้แก่นักศึกษาเพื่อในนักศึกษาได้มีประสบการณ์ใหม่

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

มีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมพยายามแสดงความคิดเห็นเท่าที่รู้ 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนการสอนและการทำกิจกรรม ที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีเทคนิกการสอนที่ดีรับฟังนักศึกษา มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีให้ความสำคัญในทุกๆรายละเอียด

จบการบันทึกครั้งที่ 11 

SEE YA

 



วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10  วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

บรรยากาศในวันนี้ก็ยังคงดูวุ่นวายเหมือนดั่งหลายๆวันที่ผ่านมาเนื่องจากบุคลากรที่เคยอาศัยอยู่ที่ตึก 2 ซึ้งเป็นตึกของคณะศึกษาศาสตร์ ต้องทำการอพยบ ย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไปยังตึกใหม่ เพราะตึกคณะศึกษาศาสตร์นั้นกำลังจะถูกทุบเพราะจะทำการก่อสร้างใหม่ อาจารย์องก็เช่นกัน ดังนั้นอาจารย์จึงรวบรัดเวลา โดยให้นัดศึกษานำงานกลุ่มที่อาจารย์ได้สั่งไว้คือ แผนผังความคิด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มาส่ง อาจารย์ได้ตรวจและแนะนำให้ข้อเสนอแนะในการทำแผนความคิดที่ถูกต้องให้ จากนั้นอาจารย์จึงได้ให้งานแต่ละกลุ่ม โดยให้และกลุ่มนั้นแบ่งงานกันโดยให้เขียนแผนการสอนแต่ละหัวข้อที่มีในแผนผังความคิดมาหัวข้อละแผนโดยให้นักศึกษาจัดการกันด้วยตนเอง และนำมานำเสนอในชั่วโมงถัดไป 



รูปภาพบรรยากาศในห้องเรียน (Cr.เพื่อนๆที่น่ารัก)

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • การทำแผนผังความคิดอย่างละเอียดและครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหา เพื่อที่จะวางแผนการสอนได้อย่างครอบคลุม และรู้จะต้องหยิบยกอะไรมาสอนหรือให้ความรู้อย่างไรให้มีประสิธิภาพ
  • ไม่ว่าจะเป็นอะไรหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ก็สามารถนำมาบูรณาการทางคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้นดังนั้นกรวางแผนและรู้จักการหยิบยกสิ่งต่างๆมาใช้ได้อย่างคุ้มค่านั้นจะเป็นแระโยชน์กับเด็กเป็นอย่างมาก

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะทางการคิด
  • ทักษะทางการแตกยอกความคิด
  • ทักษะทางการแก้ปัญหา
  • ทักษะทางการวิเคราะข้อมูล
  • ทักษะในการทำแผนผังความคิด

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำการเขียนแผนผังความคิดมากระจายความรู้เพื่อสามารถจักการวางแผนในการสอนได้อย่างครอบคลุมและเป็นประดยชน์มากที่สุด

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์จะให้นักศึกษาได้ลองลงมือทำก่อน หลังจากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมให้ เพื่อนักศึกษาจะได้มีความรู้มากขึ้น 

การปะเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมทุกอย่างที่อาจารย์ได้จัดและมอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมและการเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์งานยุ่งมากแต่กก็พยายามที่จะมาสอนและคอบให้ความรู้กับนักศึกษา





 จบการบันทึกครั้งที่ 10 

SEE YOU






วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559  เวลา
08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์ได้มาช้ามากกว่าเวลาปกติเล็กน้อยเนื่องจากวันนี้นั้นมีการจัดเก็บของภายในอาคารเรียนเพื่อที่จะย้ายไปตึกเรียนใหม่ ไม่นานการรอคอยก็สิ้นสุดลงเมื่อร่างอวบของอาจารย์ได้เลื่อนประตูเปิดเข้ามา บรรยากาศในห้องเรียนที่มีเสียงเจี๊ยวจ๊าวก็เงียบลงเพื่อให้ทุกคนภายในห้องนั้นเข้าสู่โหมดของการเรียน เมื่อร่างอวบที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ได้เดินไปนั่งลงบนเก้าอี้ที่อยู้ตรงหน้าชั้นเรียนการเรียนการสอนจึงเริ่มขึ้น ได้มีการแลกเปลี่ยนสอบถาม เกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศน์ ว่ามีการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์อย่างไร มีการใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง อาจารย์ได้สอบถามและเพิ่มเติมความรู้อย่างพอเป็นพิธี เมื่อจบกิจกรรมที่หนึ่งร่างอวบของอาจารย์ได้เดินไปหยิบกระดาษ A4 ที่วางอยู่บนโต๊ะแล้วเดินมาด้านหน้ายื่นกระดาษนั้นให้แก่นักศึกษาที่อยู่หัว แถว จากนั้นก็เดินไปนั่งที่ นักศึกษาที่ได้รับกระดาษก็ได้หยิบกระดาาของตัวเอง 1 แผ่น และส่งต่อให้เพื่อนด้านข้าง เพื่อนที่ได้รับกระดาษต่อก็ทำเช่นเดียวกันต่อไปเรื่อยๆจนนักศึกษาทั้งห้องได้กระดาษครบทุกคน เมื่อได้ครบแล้วกระดาษที่เหลือจึงส่งคือให้แก่อาจารย์ เมื่ออาจารย์เห็นว่านักศึกษาได้ทุกอย่างครบเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มอธิบายงานงานว่ากระดาษที่แจกไปนั้นใช้ทำอะไรกันแน่ นักศึกษาที่กำลังงงกันอยู่นั้นจึงได้คำต่อบว่า 

งานที่ได้รับมอบหมายคือ ..... ให้นักศึกษานั้นเขียนแผนผังความคิด ที่จะสอนในสิ่งที่เด็ควรรู้ใน 4 หน่วยนี้ คือ 1.  เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก 2. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 3. บุคคลและสถานที่ 4.ธรรมชาติรอบตัว
โดยให้เขียนแยกออกมาเป็นเรื่องที่จะสอน 1 เรื่อง แต่ขอบเขตให้อยู่ใน 4 หน่วยนี้ จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากการทำแผนความคิดของตนเอง คือ ใช้หน่วยธรรมชาติรอบตัว ( เราต้องคิดว่าธรรมชาติรอบตัวมีอะไรบ้าง ) เรื่องต้นไม้ เราก็แตกออกมาจากต้นไม้ว่า  มีชนิดอะไร ดำรงชีวิตอย่างไร ประโยชน์ โทษ เป็นต้น แตกออกมาให้เยอะที่สุดเท่าที่เราจะสอน 
 
หลังจากการเสร็จจากแผนผังความคิด ก็เป็นการนำเสนอ ขอเพื่อนๆในสัปดาห์นี้ จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจแผนควมคิดของนักษึกษาทั้งห้องพร้อมทั้งให้แนวคิดในการแก้ไขผังความคิด จนจบคาบเรียน

สาระความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีการสอนเราจะต้องหาวิธีการสอนนั้นให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 
  • การเรียนเราจะต้องเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อที่เด็กจะได้สังเกตได้ง่ายว่าตัวไหนมีรูปแบบการเขียนอย่างไร การเรียนการสอนแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนแบบภาษาธรรมชาติ 
  • ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ
  • ตัวอย่างการที่ให้เด็กทำกิจกรรม เคลื่อนไหว โดย ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขนออก ยกแขนขึ้น เอามือแตะไหล่ กางแขน ออก การทำแบบนี้จะทำให้เด็กเข้าใจในความสัมพันธ์ ในการทำครั้งแรกเด็กอาจจะไม่รู้ว่าคืออะไรในชุดที่ 1 แต่เมื่อชุดที่ 2 3 เด็กจะรู้ว่ามันมีความสัมพันธ์ในเชิงพีชคณิต  หรือ จะเป็นแบบชุดตัวเลข เช่น 531,357,531,357 จะทำให้เด็กได้วิเคราะห์ เกี่ยวกับการเพิ่มลดของจำนวน
  • การใช้แผนความคิดในการสอนเด็กอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการหาความรู้เพิ่มเติม

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะทางด้านการคิด
  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการคิดรวบยอด
  • ทักษะความอดทน

การนำมาประยุกต์ใช้

มีความรู้ในการที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนรวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์สอนและสอดแทรกคุณธรรม ให้อิสระในการคิดและแก้ปัญหาอะไรที่ไม่ถูกก็จะช่วยชี้ทางที่ถูกตั้งให้ คิดกิจกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ 

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลามีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียน เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน

มีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรม มีความสามัคคีกันเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้โอกาศในการปรับปรุงแก้ไข สอดแทรกคุณธรรมอยู่เสมอ เตรีมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจสอนและให้ความรู้อย่างเต็มที่





จบการบันทึกครั้งที่ 9

SEE YA LOVE YOU 



วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559



บรรยากาศนอกสถานที่

เนื่องจากวันนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนภายในห้องเรียน เพราะต้องไปศึกษาดูงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จึงให้งานนักศึกษาโดยให้นักศึกษาไปศึกษาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์มาด้วย 
วันนี้ได้ตื่นแต่เช้าเพื่อไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ ในการเดินทางตอนเช้ารถนั้นข้อนข้างติด เมื่อไปถึงโรงเรียน นักเรียนก็จะมีการเข้าแถวในตอนเช้า เหล่านักศึกษาได้เข้าไปในห้องที่ทางโรงเรียนได้เตรียมการรับรองเอาไว้จากนั้นทางโรงเรียนได้ให้ชมวีดีดอแนะนำโรงเรียน เมื่อชมเรียบร้อยก็นั่งรอ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคุณครูกล่าวเปิดงาน เมื่อเรียนร้อยก็มีอาหารรับรอง จากนั้นก็มีการอธิบายเรื่องการสอนแบบโปรเจคของทางโรงเรียน เมื่อฟังจบทางโรงเรียนก็ได้ให้ลงไปศึกษาดูงานการเรียนการสอนของทางโรงเรียน เมื่อจบก็กลับมาที่ห้องรับรองจากนั้นก็รับประทานอาหารเที่ยง (อร่อยมาก) ระหว่างรออาหารก็มากิจกรรมสนุกสนานโดยการให้เพื่อนๆที่มีความสามารถในการร้องและเต้นไปออกเสต็บกัน เมื่อทานอาหารเรียนร้อยเพื่อลดความตึงเครียดในเรื่องวิชาการรวมไปถึงต้องการย่อยอาหารก็มีการออกเสต็บกันอีกรอบ จากนั้นก็ได้เรียนรู้เรื่องโครงการบ้านวิทยาศาสตร์ ว่าเป็นอย่างไรเมื่อจบ ก็ให้นักศึกษาาได้ถามเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นให้นักศึกษาพูดถึงความรู้สึกที่ได้มาศึกษาดูงานในวันนี้ จากนั้นก็ถ่ายรูปรวม เป็นที่ละลึกในการมาศึกษาดูงานในวันนี้

ภาพตัวอย่างสื่อ

ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางคณิศาสตร์












สาระความรู้ที่ได้รับ

  • ทางโรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนจะเป็นมุมต่างๆเพื่อให้เด็กนั้นได้เล่นได้ศึกษาตามความสนใจของเด็ก รวมไปถึงจักห้องเรียนให้เข้ากับการเรียนแบบโครงการในเรื่องที่เรียนอยู่เพื่อให้เด็กได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆ 
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เด็จะได้รับนั้นเด็จจะได้รับทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ คือ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความหน้าจะเป็น ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายจะทำให้เด็กไม่เบื่อและสนุกกับการเรียน
  • การวัดและประเมินผล จะเป็นการดูจากผลที่เด็กได้รับการทดสอบการสังเกตการสัมภาษผู้ปกครองหรือตัวเด็กเอง
  • การเรียนการสอนแบบโครงการ Project Approach  จะเป็นการเรียนที่ลึกลงไปในสิ่งที่เด็กนั้นอยากรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเด็กจะเป็นผู้ที่เลือกเรื่องที่จะเรียนกันเอง โดยมีครูเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่เด็กและครูก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กอีกด้วย การเรียนแบบโครงการ  จะมี 3 ระยะ คือ 1. ระยะเริ่มต้น 2. ระยะดำเนินโครงการ 3. ระยะสรุปโครงการ 
มีโครงสร้างดังนี้ 
1. การอภิปรายกลุ่ม ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่สนใจ  ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การทำงานภาคสนาม  ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน หรือให้เด็ก มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมที่เด็กได้พบเจอมาในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ
4. การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างอิสระ หลากหลายวิธีตามหัวเรื่องที่เด็กนั้นสนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง  บุคคลในครอบครัว  เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง  อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง  เขียนโครงร่าง  หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ สัมผัส สังเกต ผ่านประสาทสัมผัทท้ง 5 หรืออาจะใช้หนังสือจากห้องสมุดในการค้นคว้า 
5. การจัดแสดงผลงานของเด็ก การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น แก่เพื่อนในชั้น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ครูสามารถให้เด็กในชั้น  ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง  ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนอีกด้วย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้

สามารถนำมาใช้ในการจัดการและวางแผนเตรียมตัวเตรียมใจในการรับมือกับสิ่งที่ต้องเจอในอนาคตของการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมุลเพื่อนำมาเป็นคลังความรู้และประสบการณ์ในการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กในอนาคต ร่วมไปถึงคอยพัฒนาตนเองอยูุ่เสมอ

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานเองจริงและฝึกเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อจะได้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวนักศึกษาเอง

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตื่นเต้นในการไปศึกษาดูงาน ตื่นแต่เช้าเพื่อไปให้ทัน เต็มที่กับกิจกรรม ตั้งใจในการศึกษาดูงานเก็บประสบการณ์ต่างๆ แต่อาจะยังไม่เข้าใจในบางเรื่องแต่ก็พยายาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการไปศึกษาดูงาน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีความต้องให้นักศึกษาไปแล้วได้ประสบการณ์ และให้มาบอกเล่า ว่าได้อะไรบ้าง ถึงจะไม่ได้สอนแต่ก็มีงานและกิจกรรมเสริมความรู้ให้นักศึกษาได้ทำ

จบการบันทึกครั้งที่ 8

SEE YA JUB JUB 


วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 08:30 - 12:30 น. 


บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์เข้ามาสอนช้ากว่าปกตินิดหน่อยเพราะอาจารย์ติดงาน เมื่ออาจารย์เข้า อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำไม้ที่อาจารย์ได้ให้แก่นักศึกษาไปตัดแบ่งตามสัดส่วนที่อาจารย์ได้กำหนดไว้ในสัปดาห์ที่แล้วขึ้นมาเพื่อจะได้ทำกิจกรรมสำหรับวันนี้กัน กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ได้นำดินนำมันมากแจกให้นักศึกษาโดยให้นักศึกษานันได้เลือกเองว่าจะเอาดินน้ำมันสีอะไรดี เมื่อนักศึกษาได้ดินน้ำมันครบทุกคนแล้ว ก็เริ่มกิจกรรม โดย อาจารย์จะกำหนดโจทย์มา โดยให้นักศึกษานำไม้ที่ได้ตัดแบ่งเอาไว้แล้วนั้นมาต่อกันโดยใช้ดินน้ำมันเป็นตัวเชื่อมให้ไม้ติดกัน เป็นรูปทรงต่างๆตามที่อาจารย์ได้กำหนด ตามรูปแบบความคิดของตัวเอง 

ตัวอย่างภาพผลงานจากกิจกรรม



รูปสามเหลี่ยม 1 มิติ


รูปทรงสามเหลี่ยม 3 มิติ


จับคู่ทำรูปทรง 4 เหลี่ยม 


รูปทรง 4 เหลี่ยม 3มิติ


ตัวอย่างผลงาน ในแบบต่างๆ 

เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วต่อไปก็เป็นการนำเสนอของเพื่อนๆ จะแบ่งเป็น ในรูปแบบเดิม
วันนี้ หนูเป็นผู้นำเสนอ 1 ในสามสามมารถเข้าไปดูในบล็อกที่สรุปเอาไว้แล้วได้เลยส่วนสรุปของเพื่อนๆนั้นก็สามารถเข้าไปดูตามลลิ้งค์นี้ได้เช่นกัน

นางสาวพรประเสริฐ กลับผดุง

นางสาวณัฐณิชา ศรีบุตรตา

VDO
นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์
ยังไม่ได้นำเสนอนะฮ๊า

นางสาวศิริพร ขมิ้นแก้ว

**เข้าไปตามหัวขอได้เลยค่า**

แผนผังสรุปองค์ความรู้




สาระความรู้ที่ได้รับ

  • แค่เพียงไม้เสียบลูกชิ้นที่แสนจะธรรมด๊าธรรมดากัดินน้ำมัน 1 ก่อน ก็สามารถนำมาสร้างความรู้และประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กน้อยผู้น่ารักได้ โดยการทำให้เด็กนั้นได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงต่างๆ ถึงแม้ว่าครูผู้สอนจะกำหนดโจทมาแต่ครูไม่ควรกำหนดความคิดหรือรูปแบบในการทำของเด็ก ต้องปล่อยให้เด็กคิดเองทำเองลงมือเองเพื่อเด็กแต่ละคนนั้นมีความคิดที่แต่ต่างกันดังนั้นการสร้างรูปทรงต่างๆของเด็กก็แตกต่างกันไปด้วยขึ้นอยู่กับประสบการเดิมของเด็ก ถึงแม้โจทย์จะเหมือนกันแต่ ผลงานที่ออกมาก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป 
  • ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้คุณครูเองก็ต้องคอยเพิ่มเติมความรู้ให้กับตนเองเช่นกันเพราะเด็กนั้นจะเรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์อะไรนั้นก็อยู่ที่ผู้ใหญ่หรือครูแป็นผู้จัดมันขึ้น ดังนั้นครูจะต้องหาความรู้ใหม่ๆและทั้นโลกทันสมัยและทันเด็กอยู่เสมอเพื่อที่จะได้จัดการเรียนรรู้ได้อย่างหลายหลายและทำให้เด็กไม่เบื่อ พร้อมที่จะสนุกกับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะและแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทักษะทางคณิตศาสพื้นฐาน
  • ทักษะคณิตศาสตร์เรื่องรูปทรง
  • ทักษะการคิด

การนำมาประยุกต์ใช้

กิจกรรมการทำรูปทรงต่างๆจากไม้ลูกชิ้นนั้นเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ได้รับเพื่อในอนาคตนั้นจะได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการจัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย อย่างเหมาะสม 
การวางแผนในการทำกิจกรรมก็สำคัญเราจะต้องคิดกิจกรรมที่ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กนั้นได้สนุกกับการทำกิจกรรม

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์นั้นให้อิสระในการคิดแก้ไขปัญหาโดยไม่ปิดกั้น ให้โอกาศในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงอาจารย์จะมีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาทำเสมอๆ สอดแทรกคุณธรรม

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนพยายามทำความเข้าใจกับการเรียนการสอน ตั้งใจและให้ความร่วมมือกับกิจกรรม 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์จะมีเทคนิคใหม่ในการสอนและเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ให้โอกาศแกนักศึกษาเสมอไม่ตัดโอกาศและให้ปรับปรุงแก้ไข ตั้งใจสอนฟังความคิดเห็นของนักศึกษาเสมอ และคอยให้ขอคิดสอดแทรกคุณธรมมจริยธรรม



จบการบันทึกครั้งที่ 7

SEE YOU















 





วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 8:30-12:30 น.


บรรยาการศในห้องเรียน

เริ่มต้นการเรียน อาจารย์ได้เปิด VDO เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบ Project Approach  เมื่อดูจบเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้กัน กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้แจกกระดาษให้แก่นักศึกษาคนละแผ่น จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษานั้นตีตาราง 2 ชุดด้วยกัน ชุกที่ 1 เป็นตาราง10x2 และ ตาราง10x3 ดังนี้



.......................................................


เมื่อได้ตารางเรียบร้อยอาจารย์ก็ได้ให้โจทย์แก่นักศึกษาโดยข้อที่หนึ่งคือให้นักศึกษาแรงเงาตารางสองช่องติดกันแบบไหนก็ได้ให้ได้รูปแบบมากที่สุด ข้อที่สองคือให้นักศึกษาแรงเงาตารางสามช่องติดกันแบบไหนก็ได้ให้ได้รูปแบบมากที่สุด เมื่อจบกิจกรรม ก็ได้สรุปความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กัน


**VDO เกี่ยวกับการสอนแบบ Project Approach**


.......................................................................

สาระการเรียนรู้ที่ได้รับ


  • ในการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือประสบการณ์ต่างๆให้กับเด็กได้นั้นครูนั้นจะต้องรู้ก่อนว่าเด็กนั้นมีความสามารถ มากน้อยเพียงใด เพราะเด็กแต่ละคนนั้นมีความสามารถไม่เหมือนกัน
  • ครูจะต้องรู่พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กเพื่อที่จะได้วางแผนในการทำกิจกรรมให้เด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กได้โดยที่กิจกรรมนั้นไม่ยากจนเกินความสามมารถของเด็กและไม่ง่ายจนไร้ความหน้าตื่นเต้นหรือหน้าเบื่อจนทำให้เด็กนั้นไม่อยากเรียนรู้ 

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
  • ทักษะการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์โดยพื้อฐาน

การนำมาประยุกต์ใช้

จากกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำนั้นเราสามารถหาความรู้ได้รอบๆตัวไม่ว่าจะเป้นการอ่านวีดีโอต่างๆเราสามารถเพิ่มเติมความรู้ให้กับตัวเองเพื่อจะนำข้อมูลที่ถูดต้องไปพัฒนาความรู้ให้แก่เด็ก รวมถึงการที่เราจะต้องรู้พัฒนาการเด็กเพื่อที่เรานั้นจะได้จัดกิจกรรมได้อย่าเหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยในช่วงวัยต่างๆ

เทคนิคกาสอนของอาจารย์

อาจารย์ได้ให้อิสระแก่นักศึกษาในการออกความคิดเห็นแสดงความเห็นของตนเองออกมาพูดคุยกัน ได้ให้นักศึกษาได้แก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆตามความคิดของตนเองให้ได้ลองทำก่อนถ้ามีการผิดพลาดอาจารย์ก็จะคอยให้ความรู้และบอกกล่าวอย่างใจเย็น อาจารย์คอยปรับตัวให้เข้ากับนักศึกษาเพื่อให้การเรียนนั้นไม่น่าเบื่อ และ เพื่อให้นักศึกษานั้นสนุกกับการเรียนไม่ตึงเครียด รวมไปถึงสอนและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมต่างๆให้แก่นักศึกาาอีกด้วย

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตรงต่อเวลาตั้งใจเรียนทำความเข้าใจกับการสอนในรูปแบบของอาจารย์ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจในการการเรียนรวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆ มาตรงเวลาเตรียมงานมาเป็นอย่างดีแสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาตรงต่อเวลา ให้อิสระนักศึกษาในการแสดงความคิดเห็นพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน และแนะนำนักศึกษาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเพิ่มเติมในสิ่งที่ขาดให้ 



จบการบันทึกครั้งที่ 6

SEE YA ....



                                                          

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 8:30 - 12:30 น. 



บรรยากาศในห้องเรียน

เช้าวันพุธ ณ ห้อง 233 ซึ้งเป็นห้องเรียนวิชาการจัดประสบการคณิศาสตร์สำหรับเด็ก วันนี้อาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรม ใหม่อีกหนึ่งกิจกรรมนั้นก็ ตารางจ๋าตื่นแล้วจ้า (ตั้งเอง) โดยกิจกรรมนี้นี้นั้นอาจารย์จะตีตารางแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ดังนี้ ช่องที่หนึ่ง ก่อน 7:00 น. ช่องที่สอง 7:00 น. และช่องที่สาม หลัง 7:00 น. 
เมื่อตีตารางเรียบร้อบแล้วนั้นจากนั้น อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำกระดาษแข็งที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดพอดีกับช่องของตารางที่เขียนชื่อของตนเองไว้นั้นไปติดลงบนตารางตามช่องที่เป็นเวลาตื่นของตนเองอย่างซื่อสัตย์ จากตารางนั้นจะพบว่านักศึกษาส่วนมากนั้นจะตื่นในช่วง หลัง 7:00 น.(หนึ่งในนี้คือเค้าเอง) รองลงมาก็จะเป็นก่อน 7:00 น. แต่ตื่นตรงเป๊ะ 7:00 น. นั้นไม่มีเลย  การเขียนตารางแล้วแบ่งออกเป็น 3 ช่องโดยที่ไม่ได้แบ่งเป็นเวลาย่อย เช่น 6:00 หรือ 8:00 นั้น เพราะว่าจะเอาเป็นภาพรวมเพื่อที่เด็กนั้นจะได้ไม่สับสน เพราะการดูนาฬิกาสำหรับเด็กนั้นเป็นเรื่องยาก  อาจารย์ได้แนะนำด้วยว่าการหากิจกรรมแต่ละครั้งนั้นครูจะต้องคำนวนให้ดีว่าเด็กนั้นจะได้รับความรู้เพื่อเสริมพัฒนาการอยู่เต็มที่ และจะนำไปบูรณาการได้ในหลากหลายกิจกรรม  ต่อมาก็เป็นการออกไปนำเสนอ ของเพื่อนๆ ในสัปดาห์นี้นั้น จะเป็น เลขที่ 7 8 9  ต่อจากนี้ก็จะเป็นกิจกรรมร้องเพลงกับคำคล้องจอง แสนสนุก จากนั้นก็จะเป็นการสอนเนื้อหา  และปิดท้ายโดยการ นำเสนอไอเดียความคิดในการสร้างของเล่นของแต่ละกลุ่มเพื่ออาจารย์จะได้ดูและเพื่มเติมสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมให้ รวมไปถึงการตกลงกันว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำของเล่น จากนั้นก็เขียนลงในกระดาษเพื่อนำไปให้อาจารย์จัดหาอุปกรณ์ในการสร้างของเล่น


ตัวอย่างตาราง

บทความ วิจัย VDO ของเพื่อนที่นำเสนอ

***สรุป บทความ วิจัย วีดีโอ นั้น กดเข้าไปที่คำว่ากดในวงเล็บได้เลยจร้า

START CLASS SING AND SONG

**เริ่มโดยการทบทวนเพลงในสัปดาห์ที่แล้ว**

เพลงสัปดาห์ที่แล้ว

คลิก

**เพลงในสัปดาห์นี้**

1. เพลง นกกระจิบ

นั่นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิบ  1 2 3 4  5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

2. เพลง จับปู

1 2 3 4 5  จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

6 7 8 9 10 ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

ลา ล้า ลา ...................

3. เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ

มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

4. เพลง แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่ หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง

5. นับนิ้วมือ

นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมี สิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขาวฉันก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบนับหนึ่งถึง สิบจำให้ขึ้นใจ

6. ลูกแมวสิบตัว

ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไปนับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลูกแมวลงไปตามลำดับ)
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลง น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว

...................................

กลอน หนึ่ง-สอง

หนึ่ง สอง มือตีกลอง ตะแล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สาม สี่ ดูให้ดี
ห้า หก ส่องกระจก
เจ็ด แปด ถือปืนแฝด
เก้า สิบ กินกล้วยดิบ ปวดท้องร้อง โอย โอย

............................







...................................................................................................................................................................







บรรยากาศโดยภาพร่วมในการนำเสนอไอเดียในการสร้างของเล่นของแต่ละกลุ่ม

(ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจากสาวสวย)

สาระการเรียนรู้ที่ได้รับ

  • ในการทำกิจกรรมในทุกๆกิจกรรมนั้นจะต้องมีการประสานงานกับผู้ปกครองงเพื่อให้เด็กนั้นได้รับทักษะและพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น 
  • การที่จะคิดกิจกรรมคณิตศาสตร์นั้นต้องดูสาระจากกรอบการเรียนรู้ ทั้ง 6 สาระ รวมไปถึงการดูความสามารถของเด็กว่าสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงวัย 
  • การทำกิจกรรมนั้นจะทำให้เด็กได้พัฒนามากกว่าคือการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและให้เด็กได้ลงมือทำซ้ำๆ
  • กิจกรรมการทำตารางการตื่นนอนของเด็กนั้นจำช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คณิศาสตร์ ในเรื่อง การนับ ตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับ พื้นฐานการบวกการลบ ช่วงเวลาก่อนหลัง การบอกจำนวน การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า  เรียนรู้การนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิ
  • เด็กในช่วงวัยจะต่างกัน เช่น 3 ขวบจะใช้ภาพจากนั้นอายุมากขึ้นก็จะอัพเลเวลขึ้นเป็นการเขียนตามรอยปะและเขียนได้ด้วยตนเองเป็นฟรีแฮน
  • ลักษณะหลักสูตรที่ดี มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้                                                                         
  • เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด                                                                     
  • เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในการใช้ในชีวิตประจำวันไม่ใช่
  • ท่องจำ                                                                                                                                           
  • แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป                                                         
  • สร้างเสริมให้เด็กนั้นเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ                                           
  • ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม                                                         
  • เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและมีทักษะทางคณิศาสตร์ไปพร้อมๆกัน                                       
  • เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะในการร้องเพลง
  • ทักษะในการอ่านคำคล้องจอง
  • ทักษะในการคิด
  • ทักษะทางคณิตศาสตร์ 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา
  • ทักษะในการนำเสนอ

การนำมาประยุกต์ใช้

จากกิจกรรมที่ได้ทำนั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายกิจกรรม เพลงและคำคล้องจองต่างๆที่อาจารย์ได้สอนนั้นเราสามารถนามาใช้ในกิจกรรมต่างๆได้เพื่อทำให้กิจกรรมสนุก การใช้ทำนองในการแปลงเพลงเพื่อที่ให้เกิดความสนุกไม่จำเจทำให้เด็กนั้นตื่นเต้นได้เละทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียนและได้รับความรู้

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อารจารย์นั้นจะให้นักศึกษานั้นพูดคุยและเปลี่ยนกันอย่างมีเหตุและผล ให้อิสระในการออกความคิดเห็น ให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก่อน ที่จะช่วย และเสริมเพิ่มเติมให้ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาอีกด้วย

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาในเวลาเรียนตั้งใจเรียนเก็บเกี่ยวความรู้ที่อาจารย์มอบให้อย่างดี และพยายามทำความเข้าใจรวมไปถึงการตอบคำถามก้พยายามแสดงความคิดเห้น

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมากันตรงเวลาตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี อาจจะมีคุยในการปรึกษาหารือเรื่องเรียนกันบ้าง

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาเช้าาตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาเป้นอย่างดีให้ความรู้แก่นักศึกษาอย่างไม่กักเก็บใดๆ ให้อิสระนักศึกษาในการแสดงความคิดเห็นและสอนคุณธรรมเพิ่มเติมความรู้ให้นักศึกษาอีกด้วย

จบการบันทึกครั้งที่ 5

SEE  YOU